สรุปที่เด็ก 59 ต้องสอบคือ
- GAT/PAT 2 รอบ
- 7 วิชาสามัญ
- O-NET
- สอบวิชาเฉพาะ เช่น / กสพท , วิศวะ , ศิลปะ
- GAT/PAT 2 รอบ
- 7 วิชาสามัญ
- O-NET
- สอบวิชาเฉพาะ เช่น / กสพท , วิศวะ , ศิลปะ
ข้อดีสุดๆ จะไม่มีระบบสอบตรง นำคะแนนเหล่านี้ไปยื่นรับตรงได้เลย แต่ข้อเสีย ..........
ทปอ.ปรับรับตรง-แอดมิชชัน เริ่มปี 59 ให้สอบร่วมกันและสอบเพียงครั้งเดียวหลังเด็กเรียนจบ ม.6 ส่วนสอบวิชาเฉพาะให้กลุ่มสาขาวิชารวมตัวจัดสอบร่วมกันและสอบครั้งเดียว แต่ไม่กำหนดเวลาตายตัวเพราะเป็นความถนัดที่เด็กมีติดตัว ขณะที่แอดมิชชันเล็งเพิ่มสอบวิชาสามัญเพิ่ม ยันเพื่อประโยชน์เด็กเพราะนำคะแนนไปใช้ได้ทุกระบบจึงไม่ทำให้เสียสิทธิ ย้ำปี 58 ใช้ระบบเดิม
วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ทปอ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปีการศึกษา 2559 มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิชชันกลาง และระบบการรับตรง ในกลุ่มมหาวิทยาลัยสมาชิก ทปอ.
ทั้งนี้ ระบบรับตรงที่ใช้ผลการสอบ ให้ใช้ข้อสอบวิชาสามัญร่วมกัน และจัดสอบเพียงครั้งเดียว โดยจัดสอบภายหลังนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว ในส่วนสาขาวิชาที่ต้องสอบวิชาเฉพาะ เช่น กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะ ฯลฯ ให้แต่ละกลุ่มสาขาวิชาจัดสอบร่วมกัน และให้สอบเพียงครั้งเดียว ขณะที่ การสอบวิชาความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการสอบวิชาความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT ให้จัดสอบพร้อมกันปีละ 2 ครั้งเพื่อให้เด็กเลือกคะแนนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม สำหรับเวลาการสอบวิชาเฉพาะ และการสอบ GAT/PAT นั้นจะจัดสอบเมื่อไรก็ได้เนื่องจากเป็นการวัดความถนัดและวัดศักยภาพที่ติดตัวมาของเด็ก
ประธาน ทปอ.กล่าวต่อว่า ส่วนระบบแอดมิชชันกลางซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือคะแนนผลการเรียนซึ่งติดตัวเด็ก ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GPAX และคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนที่สอง คือ องค์ประกอบที่ได้มาจากคะแนนสอบ ซึ่งเดิมจะมีGAT/PAT ก็อยู่ระหว่างการหารือว่าอาจจะเพิ่มคะแนนสอบวิชาสามัญเข้าไปด้วย โดยแอดมิชัชชันปีการศึกษา 2559 นั้นจะปรับข้อสอบ GAT/PAT ให้มีความเข้มข้นขึ้น เพื่อให้สามารถวัดความสามารถของเด็กได้ตรงตามสาขาวิชาจริงๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับระบบการคัดเลือกทั้งรับตรงและแอดมิชชันกลาง ปีการศึกษา 2558 ยังเหมือนเดิม
“การปรับระบบครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของเด็ก เพราะเด็กจะสอบเพียงครั้งเดียวแต่สามารถนำคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบรับตรง และระบบแอดมิชชัน ทั้งเป็นการลดปัญหาวิ่งรอกสอบ เพราะฉะนั้นเด็กจะไม่เสียสิทธิ์เดิมที่เคยมี โดยการปรับครั้งนี้จะทำให้การดำเนินการเสร็จเร็วขึ้นทำให้สามาถประกาศผลแอดมิชชันได้ภายในกลางเดือนมิถุนายนหรือไม่เกินปลายเดือนมิถุนายน จากกเดิมที่เวลานี้จะประกาศผลประมาณกลางเดือนกรกฎคม เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีเวลาในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเปิดเทอมเดือนสิงหาคม” ศ.นพ.รัชตะกล่าว และว่าครั้งนี้ถือเป็นการปรับเล็ก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี
วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ทปอ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปีการศึกษา 2559 มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิชชันกลาง และระบบการรับตรง ในกลุ่มมหาวิทยาลัยสมาชิก ทปอ.
ทั้งนี้ ระบบรับตรงที่ใช้ผลการสอบ ให้ใช้ข้อสอบวิชาสามัญร่วมกัน และจัดสอบเพียงครั้งเดียว โดยจัดสอบภายหลังนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว ในส่วนสาขาวิชาที่ต้องสอบวิชาเฉพาะ เช่น กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะ ฯลฯ ให้แต่ละกลุ่มสาขาวิชาจัดสอบร่วมกัน และให้สอบเพียงครั้งเดียว ขณะที่ การสอบวิชาความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการสอบวิชาความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT ให้จัดสอบพร้อมกันปีละ 2 ครั้งเพื่อให้เด็กเลือกคะแนนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม สำหรับเวลาการสอบวิชาเฉพาะ และการสอบ GAT/PAT นั้นจะจัดสอบเมื่อไรก็ได้เนื่องจากเป็นการวัดความถนัดและวัดศักยภาพที่ติดตัวมาของเด็ก
ประธาน ทปอ.กล่าวต่อว่า ส่วนระบบแอดมิชชันกลางซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือคะแนนผลการเรียนซึ่งติดตัวเด็ก ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GPAX และคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนที่สอง คือ องค์ประกอบที่ได้มาจากคะแนนสอบ ซึ่งเดิมจะมีGAT/PAT ก็อยู่ระหว่างการหารือว่าอาจจะเพิ่มคะแนนสอบวิชาสามัญเข้าไปด้วย โดยแอดมิชัชชันปีการศึกษา 2559 นั้นจะปรับข้อสอบ GAT/PAT ให้มีความเข้มข้นขึ้น เพื่อให้สามารถวัดความสามารถของเด็กได้ตรงตามสาขาวิชาจริงๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับระบบการคัดเลือกทั้งรับตรงและแอดมิชชันกลาง ปีการศึกษา 2558 ยังเหมือนเดิม
“การปรับระบบครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของเด็ก เพราะเด็กจะสอบเพียงครั้งเดียวแต่สามารถนำคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบรับตรง และระบบแอดมิชชัน ทั้งเป็นการลดปัญหาวิ่งรอกสอบ เพราะฉะนั้นเด็กจะไม่เสียสิทธิ์เดิมที่เคยมี โดยการปรับครั้งนี้จะทำให้การดำเนินการเสร็จเร็วขึ้นทำให้สามาถประกาศผลแอดมิชชันได้ภายในกลางเดือนมิถุนายนหรือไม่เกินปลายเดือนมิถุนายน จากกเดิมที่เวลานี้จะประกาศผลประมาณกลางเดือนกรกฎคม เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีเวลาในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเปิดเทอมเดือนสิงหาคม” ศ.นพ.รัชตะกล่าว และว่าครั้งนี้ถือเป็นการปรับเล็ก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี
Credit http://www.manager.co.th/