มัณฑนศิลป์ vs สถาปัตย์ ภายใน

1.ระยะเวลาการเรียน
• สถาปัตยกรรมภายใน 5 ปี
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน 4 ปี

2.ระบบการสอบ 
• สถาปัตย์ภายใน มีทั้งระบบสอบตรง และสอบ admission สำหรับการระบบการสอบให้ติดตามเป็นปีต่อปี
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน
[คณิต/วิทย์+ไทย/อังกฤษ/สังคม40%]+[วาดเส้นมัณฑนศิลป์30%+ออกแบบภายใน30%]
*** ตรงนี้ มัณฑนศิลป์ ปฏิบัติโหดกว่า แต่ขอบอกว่า วิชาการโหดกว่าโอเนต โดยเฉพาะ วิทย์กับคณิต ***
3.การเลือกคณะเมื่อคะแนนออก (ระบบ admission)
• สถาปัตย์ภายใน เลือกได้หลายที่ จุฬาฯ / ลาดกระบัง / บางมด / ธรรมศาสตร์
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน มีที่เดียวคือ “คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร” ไม่มีระบบ admission
มัณฑนศิลป์ มีเกณ์ฑวิชาเฉพาะขั้นต่ำที่ 50 คะแนน
เช่น หากวาดเส้นได้ 100 คะแนน แต่ออกแบบภายในได้ 49 ก็จะไม่มีสิทธิ์ได้รับพิจารณา
เกณฑ์ขั้นต่ำวิชาการก็อยู่ที่ 30%
4.จำนวนรับ 
• สถาปัตย์ภายใน จุฬาฯ / ลาดกระบัง / บางมด / ธรรมศาสตร์ รับที่ละ 30-40 คน รวมๆทุกมหาลัยประมาณ 120-130 คน
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน รับ 50 คน (ไม่รวมโควต้่าประมาณ 3-5 คน)
5.การเรียนการสอนคำนวณ 
• สถาปัตย์ภายใน จุฬาฯ มีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิกหลังจบทำงานแล้ว 2 ปี
เพราะยัด วิชาคำนวณและ Construction มาก เรียนหนัก
• สถาปัตย์ภายใน ลาดกระบัง มีคำนวณพอสมควร เช่น สถิติ แคลคูลัส และแมคคานิกส์
• สถาปัตย์ภายใน บางมด เรียนเป็นภาษาอังกฤษ มีคำนวณ คล้ายลาดกระบัง
• สถาปัตย์ภายใน ธรรมศาสตร์ เรียน 4 ปี ไ
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน มีคำนวณตัวเดียวคือ คณิตศาสตร์ของนักออกแบบ เช่นการหาพื้นที่วงกลมฯลฯ ง่ายมากๆ
6.ลักษณะ Concept ของการเรียน 
• สถาปัตย์ภายใน เน้นโครงสร้างสถาปัตยกรรม+ออกแบบภายใน < ซึ่งก็แล้วแต่ style ของแต่ละที่ >
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน เน้นการตกแต่ง และออกแบบภายใน (decorate)
7.คุณสมบัติของผู้ที่จะสอบติด 
• สถาปัตย์ภายใน สายวิทย์ / ศิลป์คำนวณที่ไม่เกลียดคำนวณเรียนเสริม ฟิสิกส์ ฝึกความถนัดทางสถาปัตย์มา
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน ทุกสายที่ขยันฝึก วาดเส้น และออกแบบภายในมาอย่างหนัก
8.สัดส่วนและระยะเวลาการแบ่งเวลาติว
• สถาปัตย์ภายใน ฝึก 6-16 เดือน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง สม่ำเสมอ
• มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน ฝึก 10-24 เดือน สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง สม่ำเสมอ
9.หน้าที่การงาน 
• ทั้งสองสาขา ทำงานคล้านคลึงกัน
• แต่ภายในจุฬาฯ จะสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิกได้
• การทำงานทั้งสองสาขาค่อนข้างคล้ายกันมากๆ
• ฐานเงินเดือนของราชการ สถาปัตย์จะมากกว่าหน่อย แต่เอกชนเท่าๆกัน
• แทบไม่ต่างกันครับตอนทำงาน เพราะแต่ละคณะ ก็จะมีก๊วน
หรือบริษัทที่เด็กคณะนั้นๆจบไปทำงานรองรับอยู่แล้ว เรียกว่า พวกใครพวกมัน
10.การศึกษาต่อ
• สถาปัตย์ภายใน ศึกษาต่อสาขาสถาปัตยกรรมหลักได้ (ต่างประเทศ) – ต้องเรียนพื้นฐานเสริม
และต่อทางสายออกแบบได้ทั้งหมด  * ภายใน ของ จุฬาฯ จะต่อโท ส.ถ. หลักได้
• มัณฑนศิลป์ ต่อสายสถาปัตย์หลักไม่ได้ แต่ภายในได้่ และต่อสายออกแบบได้ทั้งหมด
พี่ขอสรุปว่า…. ถ้าใครชอบอะไรก็เลือกอันนั้น
• ถ้าเข้ามัณฑนศิลป์ ก็ต้องเตรียมตัวฝึกหนักยาวเป็นปีๆ
เขียนวันละหลายๆรูป