ทิศทางอาชีพ“นักวิจัย-นักวิทยาศาสตร์-วิศวกร” รุ่นใหม่ในอนาคต


ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม นายกสภามหาวิทยาลัยฯ ม.เทคโนโลยีมหานคร
       กระ แสเบบี้บูม ช่วงปี 1946-1964 ที่มีคนเกิดพร้อมกันกว่าสองพันล้านคน แต่ก็ก้าวเข้าสู่วัยชราแล้วลาลับจากไปราวใบไม้ร่วง!!! แม้ตามหลักวัฏสงสาร ย่อมเกิดขึ้นได้และต้องเกิดขึ้นจริงแต่ในหลักการทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ที่พัฒนาก้าวล้ำในปัจจุบัน พูดได้เลยว่าถ้ามียุคนั้นหวนคืนมาอีกครั้ง การชะลอหรือยับยั้งการจากไป หรือวิธีที่จะทำให้ “มนุษย์” เรามีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น จนอาจเป็นปรากฏการณ์ Old Boom (วัยทองบูม) เป็นไปได้เกือบร้อยเปอร์เซนต์!!! 
       

       ข้อมูลเก็บตกจากงานสัมนนา Circuits and Systems โดย ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม นายกสภามหาวิทยาลัยฯ ม.เทคโนโลยีมหานคร เจ้า ของดีกรีคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลจาก สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ หรือ IEEE ภายในงานสัมมนาวิชาการ หัวข้อ Circuits and Systems for the Next Decades เพื่อระดมเครือข่าย จุดประกายให้นักวิจัย นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรไทย เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับโลก
      
       “ข้อสงสัย สมมุติฐาน นำมาสู่งานวิจัย และงานวิจัยชิ้นเล็กๆ พัฒนาไปสู่ผลงานประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ มากมายในปัจจุบัน เทคโนโลยีถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิต แต่ต่อไปงานวิจัย, งานระบบไฟฟ้า จะถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเพื่อรักษาชีวิต” คำพูดเกริ่นของ ศ.ดร.สิทธิชัย ประธานจัดงานเผยถึงเป้าหมายโดยรวมก่อนให้ข้อมูลว่า “ที่ มาแรงคือ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ถูกนำมาใช้ในด้านชีวการแพทย์มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ มีการดัดแปลงระบบไฟฟ้ามาใช้ในการรักษาภายในร่างกายคนเพียงแค่ 8-10% อนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่านักวิจัย, นักวิชาการ, นักวิทยาศาสตร์, วิศวกรรุ่นใหม่ๆ ของประเทศไหนจะค้นพบเครื่องมือ และประดิษฐ์ใช้ได้ก่อนกัน”
       

       ศ.ดร.สิทธิชัย กล่าวต่อว่า งานวิจัยสมัยใหม่จะมีส่วนเข้าไปพัฒนา เพิ่มผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพ ในหลายแวดวง ทั้งแวดวงอุตสาหกรรม, เทคโนโลยี, การเกษตร รวมถึงวิทยาการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าทุกฝ่ายคาดหวังเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเหตุผลในเรื่องของดีมานด์ ซึ่งทุกคนอยากมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น รวมถึงในแง่ประสิทธิภาพของการรักษา ซึ่งเครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ๆ มีส่วนช่วยทีมแพทย์อย่างมาก หลักการแพทย์ที่เน้นหนักเรื่อง ป้องกัน ดีกว่า รักษา จะถูกทำได้จริง

 
       "นัก วิจัย นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรุ่นใหม่ต้องร่วมกันสร้างสรรค์เครื่องมือทางการแพทย์ และนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น แบบที่เราดูในหนัง Sci-fi ต่อไปจะมีเครื่องมืออัจฉริยะที่สามารถสแกนความเสี่ยงในโรคต่างๆ ได้ จากแค่เส้นผม วิเคราะห์ไปถึงระบบยีนส์ หรือพันธุกรรม บ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดโรค ทำให้เราได้รู้ตัวและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงก่อนได้ แล้วคนรุ่นต่อไปจะได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล บ่อยเกินความจำเป็น เพราะสามารถเช็คความผิดปกติของร่างกาย อย่างเช่น น้ำตาลในเลือด, ความดัน ได้ง่ายๆ ที่บ้าน เพราะระบบจะพัฒนาให้เจ้าเครื่องมือเหล่านี้ มีขนาดเล็กลงและราคาถูก ใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้ เหมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมัยก่อนตัวเครื่องใหญ่และแพงมาก ต้องคนรวยเท่านั้น จ้างคนช่วยแบก! แต่ปัจจุบันเครื่องเล็กมาก ซ้ำราคาก็ไม่ถึงห้าร้อย ขณะที่ความสามารถมีมากขึ้นด้วยซ้ำ คาดการณ์กันว่าต่อไปทุกคนจะสามารถมีเครื่องเช็คอัพสุขภาพได้ และไม่ต้องเดินทาง เพราะสามารถส่งผลตรวจออนไลน์มายังโรงพยาบาลได้เลย”

Credit  http://manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9550000150655