เด็กแห่เรียน′บาฮาซา′ภาษาที่สอง สพฐ.ชี้เกิดประโยชน์แน่


UploadImage

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิด เผยถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 ในส่วนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ถ้าพูดถึงเรื่องภาษาแน่นอนว่าภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่นักเรียนต้องรู้อยู่แล้ว เพราะชาติสมาชิกอาเซียนกำหนดให้เป็นภาษาราชการ ดังนั้นความคืบหน้าจึงอยู่ที่ภาษาต่างประเทศที่ 2 มากกว่า ซึ่งกล่าวได้ว่าโรงเรียนสังกัด สพฐ.หลายโรงล้ำหน้าไปนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงภาษาเพื่อนบ้านอย่างภาษาพม่า ลาว กัมพูชา โดยเฉพาะ ′บาฮาซา′ ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับรายงานมาว่าตัวเลขนักเรียนที่ให้ความสนใจเรียนภาษาบาฮาซาเพิ่มมาก ขึ้น เพราะเล็งเห็นถึงโอกาสในการใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง เนื่องจากประชากรในกลุ่มชาติสมาชิกอาเซียนนอกจากประชาชนประเทศมาเลเซียแล้ว ยังมีประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเนการาบรูไนดารุสซาลาม ที่ใช้ภาษาดังกล่าวถึงจะไม่ครอบคลุมทั้งประเทศ แต่สามารถใช้สื่อสารในวงกว้างเวลาทำงานได้


เลขาธิการกพฐ.กล่าวต่อว่า ส่วนข้อกังวลที่ว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ที่เตรียมความพร้อมแค่ติดธงชาติสมาชิกอา เซียน สอนร้องเพลงอาเซียนหรือจัดห้องสมุดอาเซียนนั้น ยืนยันว่ารายละเอียดสาระต่างๆ มีมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษาที่กล่าวถึงไปแล้ว หรือด้านการเตรียมด้านวิชาการ ตลอดจนด้านโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างโรงเรียน ซึ่งด้านการแลกเปลี่ยนนี้ สพฐ.ได้ทำเป็นตัวอย่างแล้วคือ โรงเรียนซิสเตอร์ สคูล (Sister school) ที่เน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ บวกภาษาอาเซียนอีก 1 ภาษา จาก 9 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เนการาบรูไนดารุสซาลาม ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย และโรงเรียนบัฟเฟอร์ สคูล buffer School ซึ่งเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ บวกภาษาประเทศอาเซียนที่มีชายแดนติดกับที่ตั้งของโรงเรียน ฉะนั้นโดยรวมแล้วการ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจึงมีความคืบหน้าและดำเนินการไปอย่าง ต่อเนื่องตลอดเวลา