โวยโอเน็ตวัดผลทำนักเรียนเกรดตก จุฬาฯจี้เร่งทำประชาพิจารณ์-เลื่อนใช้-ห่วงละเมิด

จากกรณีที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนบนโลกออนไลน์ ว่า กรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกประกาศเรื่องการใช้โอเน็ต เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษา
ตามหลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั้งระดับประถมศึกษา ม.ต้นและม.ปลาย โดยจะใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และคะแนนโอเน็ต สัดส่วน 80:20 เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป ทำให้นักเรียนชั้น ม.6 แสดงความกังวลว่าจะส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยสะสมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือจีพี เอเอ็กซ์ต่ำลง ซึ่งอาจมีผลต่อการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย เพราะบางมหาวิทยาลัยกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำจีพีเอเอ็กซ์ในการสอบรับตรง โดยโพสต์ข้อความการลองคำนวณผลการเรียนแบบใหม่ โดยสมมติคะแนนโอเน็ต 50 คะแนนทุกรายวิชา ในค่าน้ำหนัก 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่จีพีเอเอ็กซ์ เดิมได้ 3.10 ปรากฏว่าคำนวณได้เกรดเฉลี่ยใหม่ 2.98 ดังนั้นการประกาศใช้โอเน็ตกะทันหัน จะส่งผลให้นักเรียนปรับตัวไม่ทัน และเป็นไปได้ว่าการคำนวณผลการเรียนใหม่นั้น อาจทำให้ผลการเรียนเฉลี่ยระดับชาติน้อยลง  (
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับประกาศดังกล่าวในทันที เนื่องจากเป็นการดำเนินการอย่างรวดเร็วโดยไม่สอบถามผู้มีส่วนได้ส่วน เสียเลย โดยเฉพาะนักเรียน จึงอยากถามว่า หน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการทั้ง สพฐ. และ สทศ. ในช่วงที่มีการจัดทำ ได้สอบถามหรือทำประชาพิจารณ์หรือยัง หากทำแล้วก็อยากถามว่าทำน้อยไปหรือไม่
'ผมอยากเสนอให้ ศธ.เลื่อนการประกาศใช้ไปก่อน แล้วไปทำประชาพิจารณ์ให้มากกว่านี้ ค่อยประกาศใช้อีกครั้ง เพื่อความรอบคอบ ทั้งนี้การจะทำตามนโยบายโดยไม่คำนึงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก อาจทำให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังอาจเป็นการละเมิดสิทธิเด็กครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ ได้' นายสมพงษ์กล่าว

ด้านนายสธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การบังคับใช้ผลคะแนนโอเน็ตดังกล่าวในปีการศึกษานี้ถือว่าเร็วเกินไป ซึ่งควรประกาศล่วงหน้า 3 ปี หรือเริ่มในนักเรียนชั้น ป.3 ป.6 และ ม.3 ก่อน เพื่อให้มีเวลาเตรียมตัวและวางแผนการเรียนในแต่ละช่วงชั้น