หน่วยจุฬาฯ-ชนบท แจ้งการรับนักเรียนโครงการจุฬาฯ-ชนบทปีการศึกษา 2556 ออกมาแล้ว
โดยจะมีการรับสมัครทางเว็บไซต์ ระหว่างวันที่ 4-13 กรกฎาคม 2555
นักเรียนจะต้องดำเนินการเรื่องใบสมัคร โดยโรงเรียนจะต้องส่งใบสมัครภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2555
กำหนดสอบจะเป็น 7 รายวิชา โดยศูนย์ทดสอบจุฬาฯจะเป็นผู้จัดสอบระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม 2555
ข้อมูลโครงการของปีการศึกษา 2555 ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
โครงการนี้เป็นโครงการรับนักเรียนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกปี ๆ ละ 125 ทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
จุฬาฯ-ชนบท 117 ทุน ทุนจุฬาฯ-ชนบท-ปอเนาะ 8 ทุน รวม 125 ทุน
คณะและจำนวนรับ
-ทันตแพทยศาสตร์ 10 คน
-สัตวแพทยศาสตร์ 10 คน
-เภสัชศาสตร์ สาขาวิขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 10 คน
-สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ 15 คน,กายภาพบำบัด 6 คน,โภชนาการและการกำหนดอาหาร 3 คน
-วิทยาศาสตร์การกีฬา 10 คน
-พาณิชยศาสตร์และการบัญชี สถิติ 2 คน,การบัญชี 2 คน,บริหารธุรกิจ 3 คน
-เศรษฐศาสตร์ ทุนุจุฬาฯ-ชนบท 10 คน ทุนเศรษฐศาสตร์ชนบท 10 คน
-รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ 2 คน ,การปกครอง 2 คน,สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 2 คน,ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ2 คน
-นิติศาสตร์ 4 คน
-นิเทศศาสตร์ 4 คน
-อักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ,สารนิเทศศึกษา รับรวม 5 คน
-จิตวิทยา 5 คน
คุณสมบัติ
1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2.เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่สำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3.เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษา เล่าเรียนเต็มความสามารถและยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
4.เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาและศึกษาอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของรัฐ หรือโรงเรียนที่คณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(โครงการจุฬาฯ-ชนบท)เห็นควรโดยทั้งภูมิลำเนาและ โรงเรียนจะต้องอยู่ในเขตจังหวัดที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันสมัคร และกำหนดเขตพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการจุฬาฯ-ชนบทเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
เขตพื้นที่ปกติ
เขตภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง อุทัยธานี และพระนครศรีอยุธยา
เขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตาก และอุตรดิตถ์
เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น สกลนคร หนองคาย บึงกาฬ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
เขตภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราดและสระแก้ว
เขตพื้นที่พิเศษ จังหวัดตรัง และจังหวัดน่าน (ซึ่งเป็นจังหวัดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้การสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันชั้นสูง)
จังหวัดเชียงใหม่ เฉพาะอำเภอแม่ริม (ซึ่งเป็นที่ตั้งพระคำหนักดาราภิรมย์ อันเป็นหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
5.เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
6.เป็นผู้ที่มีผลการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 5 ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับการเลือกสมัครเข้าศึกษาแต่ละคณะ ดังนี้
6.1ผู้สมัครคณะทันตแพทยศาสตร์ สัตวศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สหเวชศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การกีฬา จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิขาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.75 และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ควรต่ำกว่า 2.00
6.2ผู้สมัครคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาภาษาไทยไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาสังคมไม่ต่ำกวา 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.75 ถ้าศึกษาเน้นหนักด้านคำนวณ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิขาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.75 และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ควรต่ำกว่า 2.00 โดยให้นายทะเบียนโรงเรียนคำนวณผลคะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชาลงในใบสมัคร และใบแสดงผลการศึกษา/ปพ.1ที่ใช้เพื่อการสมัครและลงนามรับรอง เพื่อเป็นการยินยันประกอบการสมัครด้วย
7.เป็นผู้ที่มีฐานะครอบครัวยากจน บิดา มารดา หรือผู้ปกคองไม่สามารถสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ และขาดผู้อุปการะ
8.ต้องไม่เป็นผู้ที่บิดา มารดา หรือพี่หรือน้องร่วมบิดา หรือมารดา ได้รับทุนโครงการจุฬาฯ-ชนบทมาก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา
ในกรณีที่เป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมเฉพาะแต่บิดาหรือมารดา สามารถที่จะเป็นผู้สมัครในการสอบคราวเดียวกันได้ แต่ถ้าผลการพิจารณาปรากฎว่ามีผู้สมัครอยู่ในเกณฑ์มากกว่า 1 คน คณะกรรมการจะพิจารณาให้เป็นผู้รับทุนเพียงคนเดียว
9.เป็นผู้มีอุดมการณ์ที่จะทำงานในชนบทด้วยความเสียสละ
10.เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศของสกอ. และต้องไม่อยู่ในเพศบรรพชิต นักบวช หรือนักพรต หรือมีข้อผูกมัดอยู่กับการรับทุนจากสถาบันอื่น
หากปรากฎในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือตรวจสอบพบในภายหลังว่าข้อความที่ได้แจ้งไว้ในใบสมัครเป็นเท็จ หรือหลักฐานประกอบการสมัครเป็นเอกสารเท็จหรือปลอม ผู้สมัครจะถูกเพิกถอนสิทธิ์ในการรับคัดเลือกครั้งนี้ แม้ว่าผู้สมัครจะได้สมัคร หรือได้ผ่านการคัดเลือกแล้วก็ตาม นอกจากนี้ผู้สมัครยังอาจถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายด้วย
นักเรียนที่สนใจศึกษารายละเอียดได้จากโครงการจุฬาฯ-ชนบท
โทรศัพท์ 0-2218-3704-6 โทรสาร 0-2218-3700