นักศึกษา "จบใหม่" กับสิ่งที่เป็นไปใน AEC

UploadImage

นับ ถอยหลังสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 สำหรับการเตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว

จากการได้ติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ พบว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีความเข้าใจหรือตระหนักถึงการเกิด AEC ในปี 2558 มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานอันใกล้ ต่างมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งแนวคิดเช่นนี้น่าห่วงยิ่งนัก อย่างที่ทราบกันดีว่า AEC เกิดจากการรวมกลุ่มระหว่าง ประเทศไทยกับอีก 9 ประเทศเพื่อนบ้าน อันประกอบไปด้วย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา นั่นหมายความว่า การเคลื่อนที่ของแรงงานของ 10 ประเทศที่กล่าวมาสามารถเดินทางทำงาน ณ ประเทศต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น มองดูแล้วเป็นเหรียญสองด้านทั้งด้านแสงส่องสว่างแห่งโอกาสและด้านมืดจาก อุปสรรค
 

ารสร้างคนให้ได้รับด้านหัวแห่งโอกาสจึง เป็นเรื่องที่ไม่สามารถสร้างได้แค่การบอกกล่าวเล่าให้นิสิตฟังในห้องเรียน จากการสอดแทรกในรายวิชาที่สอนเท่านั้น แต่ควรจะมีวิชาที่ ว่าด้วยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเปิดสอนในทุกระดับการศึกษาซึ่งเนื้อหาควร กล่าวถึงทั้งทางด้านภาษาที่ใช้โดยเน้นให้นิสิตนักศึกษาได้ศึกษาภาษาของ ประเทศในกลุ่มสมาชิกในระดับที่สามารถใช้สื่อสารได้อย่างน้อยก็ในระดับพื้น ฐานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับเพิ่มความเข้มข้นในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วยเพราะ สำหรับประเทศไทยนั้นเมื่อเปรียบเทียบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษจาก ผลการสำรวจล่าสุดของสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าศักยภาพและความพร้อมของไทยอยู่ในระดับ”กลางๆ”เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ในอาเซียน และตามหลังอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษสูงที่สุด

นอกจากการให้ความสำคัญในด้านการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาต่างๆแล้วควรให้ความสำคัญกับการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดย จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียน การฝึกงานแก่นิสิตนักศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งการมีองค์ความรู้ที่รอบด้านเปรียบได้กับการรู้เขารู้เรา ซึ่ง ณ เวลานี้เขารู้เราแต่เรารู้เขามากแค่ไหน ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสสอนนิสิตนัก ศึกษาชาวต่างชาติที่ มาจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ทั้งกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเวียดนาม นิสิตต่างชาติเหล่านี้ล้วนคาดหวังการได้ทำงานในไทยหลังจากเรียนจบ นั่นหมายความว่าตำแหน่งแรงงานในไทยจะถูกแทนที่จากนิสิตต่างชาติเหล่านี้จึง หวังว่าระบบการศึกษาไทยจะเข้มแข็งขึ้น และสามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ทัน

ซึ่งตลาดแรงงานที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้นั้นแรงงานจำเป็นต้องมีความ รู้และความเข้าใจ ซึ่งหมายถึง รู้จักภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน และที่สำคัญคือมีความเข้าใจใน ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ เพราะในสังคมนั้นเราอยู่กันด้วยความรู้ความสามารถอย่างเดียวนั้นไม่ได้ ต้องมีความเข้าใจเป็นองค์ประกอบด้วย ดังนั้น การเตรียมความพร้อมทั้งหลายเหล่านี้จึงไม่อาจเตรียมกันได้ในชั่วข้ามคืนแต่ หากต้องมีการบ่มเพาะปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่ารัฐให้ความสำคัญและพยายามเตรียมความพร้อมเพื่อรับ มือกับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น อาทิ การพัฒนาทางด้านภาษาอังกฤษโดยจัดให้มีนโยบายการพูดภาษาอังกฤษในโรงเรียน อาทิตย์ละวันหรือโครงการ English Speaking Year 2012 โดยวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและ ส่งเสริมการสื่อสารภาษาอังกฤษระหว่างครูและนักเรียน รวมทั้งต้องการฝึกให้เกิดความเคยชินในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษซึ่งถือว่า เป็นความพยายามในการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนโดยมุ่งหวังให้ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เทียบเท่ากับประเทศเพื่อนบ้านในหลายประเทศที่สามารถ ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้นับว่าเป็นความพยายามที่ดีในการเริ่มต้นถึง แม้ว่าอาจจะดูขลุกขลักอยู่ไม่น้อย

แต่อย่างไรก็ตาม เราต่างก็เห็นความพยายามที่จะผลักดันและสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งเพื่อพร้อม รับมือกับสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงไปซึ่งถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนควรจะ ตระหนักถึงการเกิด AEC และเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเพื่อเปิดรับโอกาสอย่างเต็ม ที่

ที่มา:กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ