90สถาบันการศึกษา ร่วมแอดมิสชั่นส์55 รับแสนคน

เมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และนายกสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวในการแถลงข่าวการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบ กลางการรับนิสิตนัก
ศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์ ประจำปีการศึกษา 2555 ว่า แอดมิสชั่นส์ปีนี้ นักเรียนสามารถเลือกเข้าศึกษาในคณะ/สาขาวิชาต่างๆ 723 คณะ/สาขาวิชา มีรหัสทั้งสิ้น 3,598 รหัส รับนักศึกษาได้ 109,617 คน มีสถาบันอุดมศึกษา 90 แห่งร่วมรับนักศึกษา แบ่งเป็น สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิก ทปอ. 24 แห่ง รับ 54,206 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 26 แห่ง รับ 20,480 คน สถาบันสมทบ 3 แห่ง รับ 156 คน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 37 แห่ง รับ 34,775 คน
 
นาย สมคิดกล่าวว่า ทั้งนี้ สอท.ได้กำหนดกิจกรรมการคัดเลือก ดังนั้น จำหน่ายระเบียบการรับสมัคร วันที่ 4-20 เมษายน รับสมัคร วันที่ 11-20 เมษายน ทางwww.cuas.or.th ชำระ เงินได้ทางธนาคาร 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย และที่ทำการไปรษณีย์ไทย วันที่ 11-24 เมษายน ประกาศผลผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกายทาง www.cuas.or.thวัน ที่ 9 พฤษภาคม สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย วันที่ 14-16 พฤษภาคม ที่สถาบันอุดมศึกษาที่สอบได้ และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษา ในวันที่ 24 พฤษภาคม ทาง www.cuas.or.th
 
 "อย่าง ไรก็ตาม คาดว่าจะประกาศผลแอดมิสชั่นส์ปี 2555 ได้ในวันที่ 7 พฤษภาคม เนื่องจาก ทปอ.ได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ประกาศผลได้รวดเร็วมากขึ้น ส่วนสาเหตุที่ที่นั่งในปีนี้น้อยลงกว่าปีที่ผ่าน เพราะมีมหาวิทยาลัยเอกชน 4 แห่งไม่เข้าร่วม เพราะอาจเปิดรับสมัครเอง ขณะเดียวกันระบบคัดเลือกรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ซึ่งใช้เป็นปีแรก ได้ตัดสิทธินักเรียนที่สอบติดไปแล้ว 30,000 กว่าคน ทั้งนี้ เชื่อว่าแอดมิสชั่นส์ปีนี้จะไม่มีปัญหาร้องเรียนเช่นที่ผ่านมา เพราะ สอท.ได้ตัดสิทธินักเรียนที่สอบผ่าน โดยระบบเคลียริ่งเฮาส์ค่อนข้างนิ่งแล้ว 100% ที่ผ่านมาได้เปิดรับเรื่องร้องเรียนปัญหาต่างๆ และได้แก้ปัญหาทุกราย เชื่อมั่นว่าจากนี้จะไม่มีปัญหา" นายสมคิดกล่าว
 
นาย สมคิดกล่าวอีกว่า อยากให้นักเรียนทุกคนตรวจสอบเงื่อนไขในการรับสมัครแต่ละคณะ และแต่ละมหาวิทยาลัย ให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะอาจมีเงื่อนไขแตกต่างกัน ควรกรอกข้อมูลการสมัครอย่างระมัดระวัง โดยตรวจสอบความถูกต้องก่อนชำระเงิน และขอให้ใช้โปรแกรมคำนวณคะแนน Admissions 55 บน www.cuas.or.th เท่านั้น ห้ามใช้โปรแกรมเก่าในการคำนวณ เพราะอาจทำให้เลือกรหัส และคณะผิดได้ โดยให้นักเรียนดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th หรือ กรณีที่ไปชำระเงินแล้วมาตรวจสอบ ไม่พบสถานะการชำระเงิน ขอให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลวันที่ 12-25 เมษายน เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล สถานะชำระเงิน ในกรณีที่ผิด ให้แจ้งได้ที่ สอท.และให้รีบส่งเอกสารการชำระเงินพร้อมใบสมัครมาทางโทรสาร 0-2354-5155-6 เพื่อแก้ไขข้อมูล หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ โทร.0-2354-5150-2
 
 นาย สมคิดกล่าวว่า นักเรียนสามารถซื้อระเบียบ การสมัครแอดมิสชั่นส์ได้ที่ศูนย์กรุงเทพฯ และศูนย์ภูมิภาค รวม 16 แห่ง ดังนี้ ศูนย์กรุงเทพฯ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ สอท.ศูนย์ต่างจังหวัด 13 แห่ง ได้แก่ มธ.ศูนย์รังสิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.), มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.), มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.), มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.), มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.), มหาวิทยาลัยนครพนม (มนพ.) และมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) กรณีนักเรียนที่เดินทางไปซื้อไม่สะดวก ดูรายละเอียดได้ทาง www.cuas.or.th ส่วน ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และศูนย์ มอ.วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นหนึ่งในศูนย์จำหน่ายระเบียบการ นั้น ยังไม่ได้รับแจ้งจาก มอ.ว่ามีปัญหา หรือไม่สะดวกในการจำหน่ายระเบียบการ ทั้งนี้ หวังว่ารัฐบาลสามารถดูแลความสงบเรียบร้อยได้ ดังนั้น จึงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
 
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับยอดรับของมหาวิทยาลัย 90 แห่ง มีดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2,615 คน, มก. 8,375 คน, มข. 1,766 คน, มช. 2,675 คน, มหาวิทยาลัยทักษิณ 935 คน, มจธ. 724 คน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1,905 คน, มทส. 1,265 คน, มธ. 3,591 คน, มนพ. 505 คน, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 145 คน, มน. 2,622 คน, มบ. 4,142 คน, มพ. 2,510 คน, มมส. 1,955 คน, มหาวิทยาลัยมหิดล 1,326 คน, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1,845 คน, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1,255 คน, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1,610 คน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2,346 คน, มศก. 2,772 คน, มอ. 3,608 คน, มอบ. 1,609 คน และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2,105 คน

สถาบัน เทคโนโลยีปทุมวัน 200 คน, มทร.กรุงเทพ 880 คน, มทร.ตะวันออก 1,195 คน, มทร.ธัญบุรี 1,270 คน, มทร.พระนคร 334 คน, มทร.รัตนโกสินทร์ 190 คน, มทร.ล้านนา 1,220 คน, มทร.ศรีวิชัย 100 คน, มทร.สุวรรณภูมิ 845 คน, มทร.อีสาน 616 คน, มรภ.กาญจนบุรี 285 คน, มรภ.จันทรเกษม 965 คน, มรภ.เทพสตรี 160 คน, มรภ.ธนบุรี 1,850 คน, มรภ.นครสวรรค์ 840 คน, มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2,015 คน, มรภ.พระนคร 715 คน, มรภ.พระนครศรีอยุธยา 280 คน, มรภ.พิบูลสงคราม 605 คน, มรภ.ภูเก็ต 680 คน, มรภ.มหาสารคาม 920 คน, มรภ.ราชนครินทร์ 330 คน, มรภ.วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 970 คน, มรภ.สวนดุสิต 1,000 คน, มรภ.สวนสุนันทา 1,605 คน, มรภ.สุรินทร์410 คน, คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ กรุงเทพมหานคร 40 คน, วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย 60 คน และวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ 56 คน

มหาวิทยาลัย กรุงเทพ 1,380 คน, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2,870 คน, มหาวิทยาลัยคริสเตียน 900 คน, มหาวิทยาลัยชินวัตร 200 คน, มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 440 คน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 240 คน, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 800 คน, มหาวิทยาลัยสแตมป์ฟอร์ด กรุงเทพฯ 880 คน, มหาวิทยาลัยเนชั่น 450, มหาวิทยาลัยพายัพ 1,435 คน, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 560 คน, มหาวิทยาลัยภาคกลาง 800 คน, มหาวิทยาลัยรังสิต 3,810 คน, มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 960 คน, มหาวิทยาลัยราชธานี 1,100 คน, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 585 คน, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 720 คน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม 1,080 คน, มหาวิทยาลัยสยาม 1,455 คน, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 3,025 คน, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2,570 คน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 1.050 คน, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย 880 คน, มหาวิทยาลัยเอเซียน 240 คน, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 260 คน,

สถาบัน เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 280 คน, สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ 340 คน, วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 800 คน, วิทยาลัยเชียงราย 200 คน, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ 100 คน, วิทยาลัยดุสิตธานี 240 คน, วิทยาลัยตาปี 400 คน, วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ 360 คน, วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ 300 คน, วิทยาลัยนครราชสีมา 660 คน, วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 810 คน, วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง 600 คน และวิทยาลัยสันตพล 1,400 คน

นาย สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า ตามที่ สทศ.เปิดรับสมัครทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ตรอบพิเศษ วันที่ 30 มีนาคม-3 เมษายน ให้นักเรียนชั้น ป.6 ช่วงชั้น ม.3 และ ม.6 ที่เกิดเหตุสุดวิสัยในวันสอบ ทำให้ไม่สามารถเข้าสอบในเวลาที่กำหนด และประกาศผู้มีสิทธิสอบ วันที่ 6 เมษายน ปรากฏว่ามีนักเรียนสมัคร 83 คน แบ่งเป็น ป.6 จำนวน 16 คน ม.3 จำนวน 14 คน และ ม.6 จำนวน 53 คน ทั้งนี้ นักเรียน ป.6 สอบวันที่ 10 เมษายน ประกาศผล วันที่ 28 เมษายน ม.3 และ ม.6 สอบวันที่ 10-11 เมษายน ประกาศผลสอบ วันที่ 15 เมษายน สำหรับการตรวจกระดาษคำตอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2554 รอบปกติ และการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) ครั้งที่ 2/2555 โดยให้ยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบ วันที่ 28 มีนาคม-1 เมษายน และเปิดให้ดูกระดาษคำตอบ วันที่ 6-7 เมษายน ปรากฏว่า มีนักเรียนยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบ 1,539 คน แบ่งเป็น ขอดูกระดาษคำตอบทั้งโอเน็ต GAT และ PAT 519 คน ดูโอเน็ต 173 คน และดู GAT และ PAT 847 คน ดังนั้น ฝากนักเรียนที่ยื่นคำร้องให้ไปดูข้อสอบตามเวลาที่กำหนด

"ขณะ นี้ สทศ.ได้ข้อมูลรายชื่อโรงเรียนที่มีเด็กขาดสอบเรียบร้อยแล้ว โดย สทศ.จะไม่ขยายวันรับสมัครเพิ่มอีก เพราะได้เตรียมจัดสอบ และสนามสอบเรียบร้อยแล้ว" นายสัมพันธ์กล่าว

ขอขอบคุณ มติชน