สาธิต มก.กำแพงแสน ปั้น "นักวิทย์เกษตร" เรียนฟรีปีละ 2 แสน

UploadImage

จากความสำเร็จของ "โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์" โรงเรียนที่เน้นผลิตนักวิทยาศาสตร์ของประเทศ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะต่อยอดสร้างโรงเรียนในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน จึงร่วมกันดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือ"โครงการ วมว." โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือผลิตนักวิทยาศาสตร์ไทยให้เพิ่มขึ้น แต่จุดเด่นที่สำคัญของนักเรียน "วมว. สาธิตเกษตร กำแพงแสน" นั้นแตกต่างอย่างน่าสนใจ
UploadImage
รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก. กล่าวถึง โครงการ วมว. ว่า เป็นแนวคิดที่เราหวังจะสร้างนักวิทยาศาสตร์ไทย โดยที่ มก.เราตั้งโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้โดดเด่น เพราะการที่จะได้เป็นหนึ่งในโครงการนั้นเราต้องนำเสนอให้โดดเด่นและแตกต่าง ซึ่งเราก็มองว่า มก.เรามีศักยภาพทางด้านการเกษตร เรายืนยันได้ว่าเป็นหนึ่งไม่แพ้ใครในเรื่องนี้ จึงได้นำเสนอแนวคิดที่จะผลิตนักวิทยาศาสตร์ทางด้านการเกษตร ที่สำคัญคือพบข้อมูลที่น่าตกใจว่าตัวเลขเกษตรกรของไทยลดลงถึง 20% ทั้งๆ ที่ผลผลิตทางด้านการเกษตรเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจประเทศ

"เราไม่ได้ตั้งเป้าว่าเด็กทั้งหมดที่จบจากโครงการจะต้องไปเป็นนักวิทยา ศาสตร์ทางด้านการเกษตร เค้าอาจจะไปเป็นหมอ ไปเป็นวิศวะ หรือไปเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่ผมก็หวังว่าอย่างน้อย 30% จะไปในแนวทางนี้ แม้ว่าใจของผมนั้นหวังถึงขนาดอยากให้เค้าจบออกมาเป็นชาวนาชาวไร่ที่มีความ รู้ แต่ก็ไม่กล้าหวังมากนัก ทว่าก็เชื่อมั่นว่าอย่างไรเสียเกษตรกรรมก็เป็นทางรอดเป็นทางออกของประเทศและ ของโลก ถ้าเราสูญเสียตรงนี้ไปก็น่าเสียดายมาก"

สำหรับโครงการ วมว. สาธิตเกษตร กำแพงแสน เริ่มต้นปีการศึกษาแรก ปี2554 มีนักเรียนรุ่นแรก ทั้งหมด 30 คน อยู่ในระดับชั้น ม.4 โดยทั้งหมดต่างเป็นนักเรียนระดับชั้นหัวกะทิ ที่การสอบคัดเลือกนั้นสุดหินเพราะใช้ข้อสอบแนวทางเดียวกับ รร.มหิดลฯโดยการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรใหม่ผสมผสานกับการประยุกต์ใช้วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ที่ทาง มก.กำแพงแสน ถนัด ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ สัตวแพทย์ วิศวกรรมอาหาร ชลประทาน และยังมีโอกาสได้ใช้ห้องแล็บและห้องปฏิบัติการพิเศษต่างๆ เหมือนอย่างที่พี่ๆ นิสิตได้ใช้ อาทิ ศูนย์ความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ศูนย์ชีวินทรีย์ ประกอบกับบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่าห้องเรียนทางธรรมชาติ เช่น โรงเรียนสบู่ดำ โรงสีข้าวธัญโอสถ อุทยานแมลง ฟาร์มวารานัส (ฟาร์มเหี้ย) ศูนย์ฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ เป็นต้น

ที่สำคัญคือ ในส่วนของผู้สอนนั้น เน้นว่าต้องไม่ต่ำกว่าระดับ "ปริญญาโท" เท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่าคณาจารย์ที่สอนนักเรียนโครงการ วมว.นั้น เป็นอาจารย์ที่สอนในระดับปริญญาตรีนั่นเอง

เรียกได้ว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบปลูกฝังความเป็นนักวิทยาศาตร์ด้าน การเกษตรอย่างเต็มรูปแบบกันเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้คงคิดว่าค่าใช้จ่ายในการเรียนคงต้องแพงมากแน่ๆ ซึ่งก็คิดไม่ผิด เพราะค่าเล่าเรียนตกแล้วต่อคนต่อปีประมาณ 2 แสนบาท แต่ทุกอย่างนี้...ฟรี!!

แต่ของ "ฟรี" ก็ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ นักเรียนโครงการ วมว. มีเงื่อนไขว่าจะต้องได้คะแนน GPA ไม่ต่ำกว่า 3.00 โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์ ต้องไม่ต่ำกว่า 3.00 เช่นกัน
UploadImage
การจัดการเรียนการสอนที่ไม่ใช่แค่มีประสิทธิภาพ แต่ต้อง "ดีเยี่ยม" รวมทั้งการดูแลนักเรียนกลุ่มดีเยี่ยมนี้ให้ "ดีเลิศ" นับเป็นแรงกดดันอย่างหนึ่งที่สำคัญ ซึ่ง อ.มลิวัลย์ กาญจนชาตรี อาจารย์ใหญ่ รร.สาธิตเกษตร วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดเผยถึงภาระกิจใหญ่หลวงนี้ว่า ในส่วนของการเรียนการสอนทั้งตัวฝ่ายวิชาการและนักเรียนเรามีความมั่นใจอยู่ แล้วในความพร้อม ตัวนักเรียนเองก็มีระเบียบวินัย มีความใส่ใจทำให้เราไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนี้

"แต่ยอมรับว่าเป็นห่วงเรื่องความเครียด จากข่าวต่างๆ ที่เราได้พบเห็นก็ส่วนหนึ่งทำให้กังวลว่าแรงกดดันเรื่องการคงระดับผลการ เรียนไม่ให้ตกจะทำให้เกิดความเครียด ซึ่งทางโรงเรียนก็มีการเตรียมความพร้อม อย่างหอพักที่นักเรียนมาอยู่ก็มีอาจารย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นอาจารย์แนะ แนวและเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ที่สำคัญคืออาจารย์ต้องมีประสบการณ์ในการอยู่หอพักด้วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงจิตใจของนักเรียนได้"

อ.มลิวัลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนของการเข้าสังคมนั้น ในการเรียนเราได้จัดให้เรียนวิชาพื้นฐานร่วมกับนักเรียนภาคปกติ เพื่อให้เด็กๆ ได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ใน 30 คนเด็กเก่งเท่านั้น เพื่อการคบหาเพื่อนที่หลากหลาย รวมทั้งยังมีการจัดเข้าค่ายในกลุ่มนักเรียน วมว.ต่างโรงเรียนด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งระบบการเรียนการสอนทั้งของตัวนักเรียนและคณะอาจารย์ แต่ที่สำคัญคือการสร้างความไว้วางใจ ให้เด็กรู้สึกเหมือนเราเป็นพี่ เป็นพ่อแม่ คือให้เค้าสามารถมาปรึกษากับเราได้ทุกเรื่อง ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีที่สุด

เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการศึกษา ด้วยการสนับสนุนการผลิตนักวิทยาศาตร์และนักวิจัยด้านการเกษตร แต่ปัญหาที่สำคัญคือเมื่อผลิต "บุคคลากร" ที่ดีออกมาแล้ว กลับไม่มีการต่อยอดหรือส่งให้ถึงฝั่งว่าพวกเขาเหล่านี้จะไปอยู่ตรงไหน จะมีส่วนช่วยประเทศได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เป็นผลผลิตระดับหัวกะทิ ไม่ช้าเราก็สูญเสียคนกลุ่มนี้ให้กับบริษัทต่างชาติ มาฉกฉวยเอาทรัพยากรบุคคลดีๆ จากเราไปอย่างง่ายดายแล้วเราจะปล่อยให้เหตุการณ์นี้เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าหรือ.

ข้อมูล:มติชนออนไลน์