การเตรียมการอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน

UploadImage

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการ อาเซียน หนึ่งในบุคคลสำคัญที่จะมีบทบาทมากที่สุดในการหลอมรวมอาเซียนให้เป็นหนึ่ง เดียว ได้ปาฐกถาพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “ประชาคมอาเซียน” ในหลายหัวข้อ และเมื่อไม่นานมานี้ท่านได้ ปาฐกถา เรื่อง "การเตรียมการอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน"  โดยมีระดับอธิการบดีสถาบันการศึกษาทั่วประเทศข้ารับฟัง


                เนื้อหาสาระในเรื่องนี้ คนไทยทุกคนควรได้รับรู้และเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงครับ...

UploadImage

 เลขาธิการอาเซียน ได้กล่าวในช่วงหนึ่งว่า ...ปัจจุบันการแข่งขันในเวทีโลกนั้นสูงมาก การศึกษาเป็นหัวข้อหนึ่งที่อาเซียนให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะจะเป็นกลไกหรือเครื่องมือสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน เพราะถ้าคนในประเทศสมาชิกคิดว่าตัวเองยังเป็นเชื้อชาติของตนเอง อาเซียนก็เกิดไม่ได้ เราต้องคิดถึงอัตลักษณ์อาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและพัฒนาร่วมมือกัน ขณะนี้ประเทศคู่ค้าของอาเซียนต่างสนใจที่จะมาลงทุนอาเซียนมูลค่าในแต่ละปี สูงมาก เพราะอาเซียนมีประชากรมากถึง 600ล้านคนสูงกว่าอียูมาก แต่ประชาคมอาเซียนจะไม่เกิดขึ้น ถ้าคนในแต่ละประเทศสมาชิกไม่เกิดความรู้สึกเป็นอาเซียนระหว่างกัน นี่คือภารกิจของอาเซียน

                อาเซียนมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นหนึ่งเดียวในปี 2015(พ.ศ.2558) แต่ความแตกต่างระหว่างประเทศสมาชิกยังสูงมาก โดยเฉพาะช่องว่างทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ท้าทายอาเซียนในการเข้าสู่ประชาคมร่วมกัน เพราะไม่มีเครื่องมือใดดีไปกว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือให้การศึกษาแก่ พลเมืองของตน ถ้าทรัพยากรมนุษย์ไม่พร้อม ทุนที่จะมาลงในอาเซียนก็อาจจะมีปัญหาได้

                 "ขณะนี้ทุกประเทศต้องฝึกพูดภาษาตลาดเพื่อบอกนักลงทุนว่าขามาลงทุนแล้วได้ กำไรเท่าไหร่บ้าง ในถนนธุรกิจของแต่ประเทศ คนที่จบออกมาต้องสามารถเป็นบุคลากรที่เชื่อมโยงตลาดในและตลาดนอกประเทศได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเน้นที่หัวใจของอาเซียน คือ การศึกษานั่นเอง"

                 ดร.สุรินทร์กล่าวว่าประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่เหมือนประเทศในยุโรปที่มีภูมิหลังเดียวกัน ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ทำให้คนในอาเซียนรีรอที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ เรื่องภายในแต่ละประเทศ การเป็นประชาคมของคน 600ล้านคนจึงต้องลงทุนลงแรงและร่วมมือกันอย่างจริงจังมากซึ่งไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลย

                สิ่งที่อยากเห็นความร่วมมือในอาเซียน ประการแรกคือ อะไรที่ทำได้ให้ทำก่อน หลายอย่างที่อาจจะมีปัญหา เช่น ตารางเปิดเรียนพร้อมกัน ถ้ารอว่าปฏิทินการศึกษาตรงกันก็จะยาก แต่สิ่งที่เราต้องการคือการเรียนรู้ระหว่างกัน เช่น หลักสูตรนานาชาติ อาจปรับเพื่อเกื้อกูลตลาดอาเซียนที่ต้องการเข้ามาศึกษาก่อน

                ประการที่สองการเปิดกว้างโดยเฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกันมากขึ้น

               ประการที่สามรัฐบาลต้องเห็นว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายสำคัญของประเทศ โดยจัดสรงบประมาณจัดบุคลากรให้ สนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆอย่างเพียงพอ

                ประการที่สี่ ในสาขาวิชาที่อาเซียนให้การรับรองแล้วว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละประเทศ สามารถออกไปหางานทำในประเทศสมาชิกได้นั้น เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกรรม พลังทดแทน ปิโตรเคมี ไอที การโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงโลจิสติกส์
                9สาขานั้นคุณภาพต้องเป็นหนึ่งเหมือนกัน และข้อสำคัญต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างดีด้วย

                มิฉะนั้นแล้ว ถ้าไม่เร่งปรับตัว ไทยเราจะเสียเปรียบให้นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพเหนือกว่ามาก ทั้งทักษะวิชาการ และ ภาษาสื่อสาร ที่เหนือกว่า ดังตัวเลขของการจ้างงานหลายหมื่น ๆ ตำแหน่งงานในองค์กรระหว่างประเทศ  ร่วม 100แห่งที่ตั้งสาขานอกจาก  บริษัทข้ามชาติเอกชนขนาดใหญ่ ๆ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก กว่า 500แห่งซึ่งมีหน่วยงานวิจัย พลังงานทดแทน กลุ่มเวชภัณฑ์ยารักษาโรค วิศวะก่อสร้างทันสมัย ที่ต้องเชื่อมโยง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีโครงสร้างแข็งแรง ปลอดภัย นวัตกรรมการคิดค้นประหยัดพลังงานลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งโลจิสติกส์ ธุรกิจ วิจัย แปรรูปอาหาร การควบคุมระบบไอทีในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก และ ธุรกิจควบคุมการบิน ระหว่างประเทศ ที่ต้องว่าจ้างบัณฑิตต่างประเทศเข้ามาทำงาน ซึ่งทำให้เสียโอกาสแก่เหล่าบัณฑิตไทย ไปอย่างน่าเสียดาย
                  ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ธุรกิจการบิน หอควบคุมการบินระหว่างประเทศ ยังต้องมีการว่าจ้างบัณฑิตจากต่างประเทศหลายร้อย คนกระจายทำงานอยู่ในหอควบคุมการบิน อันเนื่องด้วยประสบการณ์และ สื่อภาษาอันเป็นข้อได้เปรียบด้วยอัตราค่าจ้าง เดือนละไม่น้อยกว่า 8,500 - 10,000เหรียญสหรัฐ

                   ดร.สุรินทร์กล่าวว่า วิชั่นของอาเซียนนี้ ต้องบอกกล่าวไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองและนักเรียนด้วย เพราะอนาคตการเคลื่อนย้ายไปสู่ประเทศในภูมิภาคเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก เพราะถ้าเราสามารถชนะในอาเซียนได้เราก็จะสู่สากลได้ ข้อสำคัญเราต้องมีความเป็นเลิศ ต้องเป็นหนึ่ง เพราะเราขายทักษะความรู้ของเรา ต่อไปการผลิตบัณฑิตของแต่ละมหาวิทยาลัยทั้ง 9สาขาวิชานี้ เราไม่ได้ผลิตเพื่อคนในประเทศแต่เราต้องผลิตให้แก่คน 600ล้านด้วย

                   เลขาธิการอาเซียน ท่านได้ฝากถึงคนไทยทุกคนในตอนท้ายว่า...ขอให้คนไทยตระหนักว่าเราเป็นอาเซียน ด้วยกัน เราจึงจะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น และถ้าคุณภาพคนของเราพร้อม และแข่งขันกันแล้วสามารถเอาตัวรอดได้ สู้เขาได้ การผลิตบัณฑิตให้จบไปก่อนตามแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป  ต้องเน้น คุณภาพวิชาการ ทันยุคสมัย มีทักษะ พร้อมประสบการณ์การทำงาน มีจิตอาสาเรื่องความรับผิดชอบ  ต่อองค์กร และ ต่อสังคม  นอกจากภาษาต้องถึงพร้อมในระดับสากลเพราะจากนี้ไปเราไม่ได้แข่งขันในบริบทไทย เท่านั้น แต่เราต้องออกไปแข่งขันข้างนอกประเทศด้วย มาตรฐานการศึกษาจึงต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพจริงๆ และอยากบอกว่าปัจจุบันนี้ภาคเอกชนได้ตื่นตัวไปก่อนหน้าแล้วนี้ ภาคเอกชนจะเป็นหนึ่งไม่ได้ ถ้าไม่มีบรรยากาศรอบๆที่ช่วยให้เขาแข่งขันต่อไปได้ คนช่วยคือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆนี้เอง ในฐานะผู้ผลิต เป็นกัปตันหรือศูนย์หน้าให้ภาคเอกชน

                  " ถ้าสถาบันอุดมศึกษาต่างๆพร้อมออกไปแข่งขัน เชื่อว่าทุกองคาพยพของสังคมไทยจะต้องสนับสนุนอย่างแน่นอน แม้เราจะมีสิ่งท้าทายมากมาย และสิ่งกดดันจากทุกทิศ แต่การบริหารจัดการให้ถูกต้อง ลดคอรัปชั่น เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันแล้ว เชื่อว่าไทยจะสามารถแข่งขันได้ทั้งในอาเซียนและตลาดโลกอย่างแน่นอน"