รู้จักประชาคมอาเซียน โอกาสใหม่ของเรา




รู้จักประชาคมอาเซียน โอกาสใหม่ของเรา ตอนที่1

เรื่อง ราวของประชาคมอาเซียน มีหลายคำถามหลายแง่มุมมาก ในเรื่องราวของประชาคมอาเซียนที่มีต่อพวกเราไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือผู้บริหารสถานศึกษา จะขอเล่าที่มาที่ไปของประชาคมอาเซียนเพื่อให้เข้าใจผลต่างๆที่จะตามมาซึ่งผม จะค่อยๆเล่าไปทีละตอนนะครับ
ที่มาของ อาเซียน สิบชาติ หนึ่งอาเซียน
การที่เราต้องมารวมกันเป็นสมาคมอาเซียน มีเหตุผลหลักก็คือ
1.เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาเหล่าสมาชิก 
2.เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในภูมิภาคนี้ ในด้านของสังคม วัฒนธรรม 
3.เพื่อความมั่นคงของเหล่าสมาชิกอาเซียน
 
อยากให้เรามองภาพอาเซียนให้ชัดก่อนที่จะไปเจาะถึงรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย
 
อาเซียนได้เริ่มก่อตั้ง มาตั้งแต่ปี 2510 สมัยเริ่มต้นมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์ และสิงคโปร์ ต่อจากนั้นบรูไนก็ตามเข้ามา และอีก 4 ประเทศก็ตามเข้ามาภายหลัง
รวมกันเป็น สิบประเทศ
 
การทำความตกลง ครั้งสำคัญซึ่งเป็นที่มาของ ประชาคมอาเซียน สิบชาติหนึ่งอาเซียน คือข้อตกลง วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ซึ่งทำกันเมื่อเดือนธันวาคม 2540
เริ่มมีการทำกฎบัตรอาเซียน ตั้งกฏกติกาต่างๆเพื่อเป้าหมายในการร่วมมือกันทั้งด้านเศรฐกิจ ความมั่นคงและวัฒนธรรม โดยตั้งใจจะให้บรรลุเป้าหมายในปี  2020  
และจากความคืบหน้าในการร่วมมือของสมาชิกทำให้มีการลดเวลาลงมาคือจะให้สำเร็จภายในปี2015   
นั่นคืออีกสามปีจากนี้ไป
 
เหตุที่ต้องร่วมมือกัน
 
ในด้าน เศรษฐกิจ ลองนึกดูว่าประเทศไทยประเทศเดียว ไปต่อรองกับอเมริกา ก็อาจต่อรองอะไรได้ไม่มาก เพราะมี ประชากรอยู่ 60 ล้านคน แต่เมื่อรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว อย่าว่าแต่ไทยเลยครับ ลาวหรือกัมพูชา ก็สามารถมีอํานาจต่อรองทางการค้าได้ เพราะมีพวกเยอะ ทรัพยากรมากและกำลังซื้อก็ไม่น้อย ถ้าต่อรองในนามของอาเซียน ก็ย่อมแข็งแรงกว่า ดูอย่างเรื่องสิทธิบัตรยา อเมริกาบีบอะไรเราก็ต้องยอมจะขอผ่อนปรนอะไรก็ไม่ได้ แต่เรื่องเดียวกันนี้ อเมริกาไม่กล้าทำอะไรกับจีน

ทั้งนี้ทั้งนั้น การร่วมมือกันก็ต้องมีความจริงใจ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญมาก เพราะถ้าหมู่มวลสมาชิกอาเซียนไม่ จริงใจกัน มีการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากจนเกินไป ก็จะทําให้อาเซียนไม่เป็นปึกแผ่น และการต่อรองทางการค้าไม่ว่าจะเป็นการต่อรองกับประเทศใดๆ หรือต่อรองกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆก็จะไม่มีนำ้หนัก ไม่น่าเชื่อถือ

การ รวมกลุ่มกันในลักษณะนี้เบื้องต้นมักจะเป็นการร่วมมือเพื่อเศรษฐกิจเป็นส่วน ใหญ่ โดยตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจต่างๆเช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ EU เขตการคา้เสรีNAFTA. ก็รวมตัวกันเพราะต้องการส่งเสริมการค้าขาย ลดปัญหาอุปสรรคเรื่อภาษีและยังเป็นแรงในการต่อรองกับภูมิภาคอื่นๆอีกด้วย เศรษฐกิจของเราน่าจะไปได้ดีมากกว่าจะไปอย่างโดดเดี่ยว ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งได้แก่ กลุ่ม OPEC ประเทศผลิตน้ํามันทั่วโลกได้รวมกลุ่มกันถึงแม้จะไม่ใช่เขตfree trade แต่ก็รวมกันด้วยวัตถุประสงค์ทางการค้าและ ทําให้มีอํานาจ กําหนดราคาน้ํามันได้เช่นเดียวกัน

การรวมกันเป็นอาเซียนอย่างนี้ เอาแค่ไทยกับเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ก็สามารถร่วมมืออาจกําหนดราคาข้าวได้เช่นกัน เพราะประเทศจีน ถึงแม้จะมีแผ่นดินกว้างใหญ่ แต่ก็ผลิตข้าวได้ไม่พอกับความต้องการของคนในประเทศ ที่อเมริกา หรือแอฟริกาก็มีการนําเข้าข้าว หรือ ใกล้ๆ บ้านเราอย่างอินโดนีเซีย ก็ยังต้องนําเข้าข้าวจากไทย นี่คือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ประชาคมอาเซียนจะมีร่วมกัน
ในเรื่องของเศรษฐกิจนั้น อาเซียนเองมีการแบ่งภาระหน้าที่ให้แต่ละประเทศเป็ยผู้นําในด้านต่างๆ ....... ประเทศไทยเองเป็นผู้นําในด้านการท่องเที่ยว ดึงคนมาเที่ยวไม่แค่ในประเทศไทยแต่ทั้งอาเซียน ผลประโยชน์ก็ไม่ได้แค่อยู่กับประเทศไทย แต่หมู่มวลสมาชิกอาเซียนก็ได้ประโยชน์ด้วย มาเลเซียเป็นผู้นําด้านยางพารา แต่ไม่แค่มาเลเซียจะได้ประโยชน์ แต่ทุกประเทศในอาเซียนก็จะได้ประโยชน์ด้วย ราคายางก็อาจจะดีขึ้น และอาจมีความร่วมมืออื่นๆที่จะตามมาเช่น ประเทศลาวก็อาจปลูกยาง โดยมีมาเลเซียและไทยเป็นผู้สนับสนุนซึ่งน่าจะดีกว่าการยอมให้จีนเช่าพื้นที่ ปลูกยางอย่างทุกวันนี้
ถึงตรงนี้หลายท่านที่ถามกันมาคงพอจะมองประโยชน์จากอาเซียนได้นะครับ
ในตอนต่อไปผมจะเล่าเรื่อง จากเขตเศรษฐกิจสู่ประชาคมและสิ่งที่เราควรเตรียมพร้อมกับโอกาสดีๆนี้ผมมอง ว่า ถ้าเราคิดแต่ในแง่ลบ มันก็จะมีแต่เรื่องร้าย 
แน่นอนครับ ทุกการเปลี่ยนแปลงมีทั้งโอกาสและอุปสรรค์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ถ้าเราเตรียมพร้อม มองด้านบวก วางบทบาทให้ถูกต้อง ก็จะเกิดประโยชน์ต่อทุกคนทุกฝ่ายครับ