'มศว'เตือนก่ออิฐบล็อกระวัง'น้ำพุ'ผุดกลางบ้าน

UploadImage

'มศว'เตือนก่ออิฐบล็อกระวัง'น้ำพุ'ผุดกลางบ้าน

         นายศุภชัยสินถาวรอาจารย์ประจำภาควิชาโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)เปิดเผยว่า ภาวะวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะเห็นปรากฏการณ์เจ้าของบ้านหรืออาคารสถานที่ส่วนใหญ่ก่อคอนกรีต ก่ออิฐบล็อกฉาบไว้บริเวณประตูทางเข้าบ้านบางบ้านก็กั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าคอนกรีตอิฐบล็อกฉาบสามารถกันน้ำท่วมบ้านได้ ทั้งๆที่ไม่มีความรู้ในเรื่องฐานรากนึกจะกั้นก็กั้น

          "วิธีดังกล่าวสามารถกั้นน้ำได้จริงแต่อยากให้ทุกคนที่ป้องกันน้ำท่วมบ้าน ด้วยการก่อคอนกรีตก่ออิฐบล็อกฉาบให้ดูเสถียรภาพของคอนกรีตหรืออิฐบล็อกฉาบ ด้วยซึ่งเสถียรภาพที่จะกั้นน้ำมีแค่ไหน ถ้าเรากั้นเพียง 1 ฟุตแล้วกั้นบริเวณหน้าบ้านประตูทางเข้าก็พอจะกั้นได้ แต่ถ้าเราก่อคอนกรีตสูง 70 เซนติเมตร ถึง 1 เมตรยิ่งความสูงเพิ่มขึ้นต้องวิเคราะห์โครงสร้างด้วยเพราะยิ่งเรากั้นใกล้ประตูทางเข้าบ้านและน้ำท่วมเป็นอาทิตย์เป็นเดือนจะเริ่มมีปัญหาเพราะแรงดันน้ำจะดันพื้นภายในบ้านให้พังได้ เนื่อง จากบ้านที่อยู่อาศัยในเมืองไทยโครงสร้างไม่ได้คำนวณฐานรากที่จะรับน้ำหนัก เพิ่มขึ้นเราคำนวณเพียงฐานรากเพียงแค่รับน้ำหนักคน น้ำหนักข้าวของในบ้านแต่ถ้ามีแรงดันน้ำเข้ามาเพิ่มมันจะดันพื้นในบ้านให้ ทะลุ และในบ้านจะกลายเป็นน้ำพุซึ่งจะเสียหายมากกว่าการปล่อยให้น้ำเข้าบ้าน ดังนั้น จะก่อคอนกรีตก่ออิฐบล็อกฉาบเพื่อกันน้ำท่วมต้องพิจารณาให้ดีด้วย" นายศุภชัยกล่าว

         และว่าวิธีการกั้นคอนกรีต หรืออิฐบล็อกฉาบนั้นถ้ากั้นให้ห่างจากตัวบ้านมากเท่าใดหรือจะกั้นบริเวณ ประตูรั้วจะปลอดภัยกว่าแต่จะสิ้นเปลืองมากเพราะพื้นที่จะกว้างกว่าเส้นรอบวง จะมากกว่า คนส่วนใหญ่จึงไม่นิยมแต่ไม่นึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นขณะเดียว กันแรงดันน้ำจะลดลงด้วยถ้ากั้นบริเวณหลังรั้วได้จะดีกว่าอยากจะแนะนำให้ขุด ร่องน้ำบริเวณสนามหญ้าเพื่อดูดน้ำออกด้วยพื้นที่สนามบริเวณบ้านจะไม่มีปัญหา



ขอบคุณหนังสือพิมพ์มติชน