วรวัจน์ เล็งลดวิชาพื้นฐานเหลือ 45 เปอร์เซนต์

UploadImage   
 
       สพฐ.สั่งสำนักวิชาการจัดสัดส่วนหลักสูตรมัธยมใหม่ตามนโยบาย "วรวัจน์” เล็งลดการเรียนวิชาพื้นฐานเหลือ 45% และเพิ่มวิชาอาชีพเป็น 45% วิชากิจกรรม 10% "ชินภัทร” ระบุพร้อมประกาศใช้ทันทีถ้ามหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบทำหลักสูตรเสร็จ

          นายชินภัทร ภูมิรัตนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (สพฐ.) ว่าที่ประชุมได้หารือถึงนโยบายของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.)ที่ก่อนหน้านี้ได้กำหนดการพัฒนาหลักสูตรมัธยมเชิงปฏิบัติการและแบ่ง เป็น 7 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรรม, กลุ่มอุตสาหกรรม, กลุ่มบริหารจัดการและสังคม, กลุ่มความคิดสร้างสรรค์, กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต, กลุ่มอาหารและกลุ่มวิจัยนวัตกรรมและการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเน้นการ จัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำเบื้องต้นที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษาของสพฐ.ไปจัดทำรายละเอียด กำหนดสัดส่วนและค่าน้ำหนักของวิชาตามนโยบายก่อน

เบื้องต้นเนื้อหาหลักสูตรใหม่นั้นอาจแบ่งเป็น 3 สัดส่วน ดังนี้
1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เรียนวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้จะเรียนในสัดส่วน 45%
2.หลักสูตรศักยภาพตาม 7 กลุ่มอาชีพ เรียนในสัดส่วน 45%
3.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อาทิ วิชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นต้น เรียนในสัดส่วน 10% ทั้งนี้ สำหรับหลักสูตรศักยภาพตาม 7 กลุ่มสาขาอาชีพนั้นจะให้โรงเรียนได้เลือกเองว่าจะเน้นในสาขาใดโดยประเมินจาก ศักยภาพของโรงเรียน

          "หลังจากนี้ในระดับมัธยมจะมีการเรียนเรื่องอาชีพมากขึ้น โดยระดับม.ต้นจะเป็นช่วงที่นักเรียนจะได้แสวงหาความถนัดและความชอบ ส่วนระดับม.ปลายจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพที่มีการจำแนกเนื้อหา ต่างๆส่วนการเรียนระดับประถมศึกษา ป.1-6 นั้นจะยังใช้หลักสูตรแบบเดิมเพียงแต่จะสอดแทรกเรื่องอาชีพเพื่อให้นักเรียน ได้รู้เรื่องอาชีพเท่านั้น” นายชินภัทรกล่าว

          ส่วนจะนำหลักสูตรดังกล่าวมาใช้เมื่อใดนั้นคงต้องดูความพร้อมของมหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำหลักสูตร 7 กลุ่มอาชีพด้วยเพราะหากทำหลักสูตรเสร็จเมื่อใด สพฐ.ก็พร้อมจะใช้ต่อไป เบื้องต้นศธ.จะนัดประชุมมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องดังกล่าวใน วันที่ 24 พ.ย.54 อย่างไรก็ตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเดิมก็จะยังไม่ยกเลิกไปเพียงแต่จะนำแนวทางดัง กล่าวไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่ให้เน้นการเรียนอาชีพมากขึ้นเท่า นั้น