หลักสูตรปริญญาโท การตลาด วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล

UploadImage
หลักสูตรปริญญาโท การจัดการ สาขาการตลาด
วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล (College of Management, Mahidol University - CMMU)


การเปลี่ยนแปลงของตลาดในโลกปัจจุบันนั้นมีความรวดเร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมา มาก การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ๆ ทางการตลาด จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักการตลาดในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีความมุ่งหมายที่จะตอบสนองกับความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งของผู้บริโภค พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น มีความแตกต่างกันทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม ความท้าทายดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนางานการตลาดในหลากหลายมิติ ไม่ว่า กระบวนการทางตลาด หรือ การปฏิวัติโดยการนำเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารมาใช้ ดังนั้นนักการตลาดในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องแสวงหาความรู้และทักษะในการที่จะ สร้างกลยุทธ์ทางการตลาด โดยที่จะต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค มีทักษะในการวิเคราะห์ แยกแยะและจัดการข้อมูล เพื่อทำการประเมินและพยากรณ์พฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งยังต้องคิดหาวิธีการสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงแสวงหาช่องทางการจัดจำหน่าย ที่จะสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด หลักสูตรสาขาการตลาด จึงมุ่งเน้นระบบความรู้ทางด้านกระบวนการคิด สร้างทักษะในการวิเคราะห์ลูกค้า การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแสวงหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ การสื่อสารที่เข้าถึงตลาดและผู้บริโภค รวมถึงการนำเอาแนวคิดมาใช้ปฏิบัติในโลกการตลาดที่เป็นจริงได้

เปิดรับสมัครนักศึกษา 3 ช่วง ต่อปี:
กรกฏาคม - สิงหาคม
พฤศจิกายน - มกราคม
เมษายน - พฤษภาคม

** หลักสูตรนี้เปิดรับนักศึกษาทั้ง full-time และ part-time

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างผลงานกิจกรรมทางการตลาด ด้านร้านค้าปลีก โดยนักศึกษาปริญญาโทการตลาด รุ่น MK13B ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (MK13B Retail Workshop at Esplanade Khaerai)
 
สถานที่: เอสพลานาด ซีนีเพล็ก แคราย

วันที่ 12 สิงหาคม 2554

อาจารย์ที่ปรึกษา:กลกิตต์ เถลิงนวชาติ

หลังวางแผนเตรียมการกันมาร่วม 3 อาทิตย์ ทีมนักศึกษาปริญญาโทสาขาการตลาดรุ่น 13B (MK13B) ก็ได้ฤกษ์เริ่มลงสนามการปฏิบัติการค้าปลีก โดยครั้งนี้มีร้านค้าเป้าหมายที่ เอสพลาดนาด ซีนีเพล็กซ์ แคราย และจะทำการปลุกความคึกคักให้กับ โรงภาพยนต์ โบว์ลิ่ง และลานไอซ์สเก็ต ในเทอมนี้มีทีมร่วมกิจกรรมครั้งนี้รวม 3 ทีม และทุกทางทีมได้เจรจาตกลงกับทางผู้บริหาร เอสพลานาดว่าจะเข้าพื้นที่ในวันที่ 12 สิงหาคม ตั้งแต่เวลาบ่ายๆ ถึงช่วงหัวค่ำ ก่อนเข้าพื้นที่ทั้งสามทีมจึงต้องทำการสำรวจจำนวนผู้เดินซื้อของ (Traffic) สภาพภายในร้านค้า (Store Layout)ตำแหน่งจุดขาย (Point-of-Purchase) สภาพเสียง แสง และอื่นๆ อีกมากมายเพื่อที่จะทำให้ได้ผลงานออกมาดีที่สุด

และเมื่อวันงานมาถึงทีมแต่ละทีมก็เริ่มลงพื้นที่ทำการPromote ร้านค้าทั้งสามกันอย่างไม่มีเวลาหยุดพัก แต่ไม่นานนักแต่ละทีมก็เริ่มเรียนรู้สภาพอุปสรรคที่เกิดขึ้นที่หน้าร้านมา ให้จัดการไม่ว่าจะเป็นทีมงานของทางเอสพลาดเองก็ไม่ได้คาดคิดว่าการขายจะมี ยอดเกิดขึ้นมากมายจนทำให้จัดบริการให้แทบไม่ทันไม่ว่าจะเป็นการรับจ่ายเงิน ครัวอาหาร เลนโบว์ลิ่งที่เริ่มเต็มขณะที่การขายวิ่งล่วงหน้าไปมากจนทำให้เลนเริ่มขาด และต้องนั่งรอเป็นบางกลุ่ม ในขณะเดียวกันทางทีมนักศึกษาก็เริ่มพบปัญหาจากการขายที่ส่งมอบของที่สัญญา ไว้แทบไม่ทันเนื่องจากมีความซื้อถี่ในอัตราสูง ทำให้ทุกทีมต้องลงมาปรับแผนหน้างานกันอย่างจ้าละหวั่น

ปัญหาที่อาจารย์มอบให้ในห้องเรียนนั้นมักเป็นปัญหาที่อาจารย์ได้จัดให้เวลา ในการแก้ไขปรับปรุงได้พอเหมาะ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพความจริงนั้น เวลาดูเหมือนจะหดสั้นกว่าที่ควรได้รับในห้องเรียนหลายเท่าตัว แต่ทุกทีมก็ต้องปรับแก้กันให้ได้ ในที่สุดเมื่อพระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า งานของทีมนักศึกษาปริญญาโท กลุ่มนี้ก็สิ้นสุด เวลาที่เคยขาดกลับมามีมากเหลือเฟือ แต่ผลละเป็นอย่างไร ผลลัพธ์คือรอยยิ้มที่เห็นได้จากทั้งบนใบหน้านักศึกษา ลูกค้า ผู้บริหารศูนย์และอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะทุกทีมทำให้ลานโบว์ลิ่งเต็มและที่นั่งขายหนังมีปริมาณผู้ชมสูงขึ้น อย่างเด่นชัดในขณะที่ลานเสก็ตน้ำแข็งก็มีผู้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ยอดขายนั้นเพิ่มขึ้นร่วม 500% จากสิ่งที่เคยคิดว่าทำได้ยาก แต่ถ้าอยู่ในมือทีม MK13B แล้ว "สิ่งที่หลายคนพูดว่ายากพวกเขาก็ทำให้เกิดขึ้นได้"

                                

แหล่งที่มา: http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/

จาก หน่วยประชาสัมพันธ์และการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
69 ถนนวิภาวดี พญาไทย กทม 10400
โทร: 02-2062000 และ Call Center: 02-2062099
CMMU Website: www.cmmu.mahidol.ac.th