'ไออุ่นจากครอบครัว'สิ่งที่ 'เด็ก ป.1' ต้องการ...มากกว่าแท็บเล็ต

UploadImage


          เป็นเด็กยุคไฮเทคแน่นอนว่าเรื่องเทคโนโลยี อาจกลายเป็นเรื่องสำคัญในการเรียนรู้สารพัดข้อมูล ข่าวสารเพื่อสนองความต้องการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไม่รอช้าเร่งเข็นนโยบายแจกแท็บเล็ตแก่เด็กชั้นประถมและมัธยมแม้ที่ ผ่านมาจะถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมอย่างหนัก

          ในเวทีเสวนา เรื่อง "มองรอบด้าน เด็กไทยกับไอที"รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรีจิตแพทย์เด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีพยายามชี้ให้เห็นถึงผลกระทบด้านสุขภาพที่ชัดเจนเพื่อจะ ได้ปลุกรัฐบาลให้ตื่นจากความคลั่งในกระแสนิยมเสียทีว่าเทคโนโลยีอาจเหมาะสม ต่อการเรียนรู้สำหรับบางช่วงวัยเท่านั้นซึ่งวัยที่ว่านี้ไม่ใช่เด็กประถม ศึกษาปีที่ 1 แน่นอนเพราะวัยนี้เป็นช่วงที่พัฒนาการค่อนข้างเปราะบาง มักตัดสินใจอะไรแบบขาดการวิเคราะห์กล่าวง่ายๆ คือ เลียนแบบ หรือเพิ่งหัดเรียนรู้เรื่องง่ายๆ เท่านั้นเพราะเป็นธรรมชาติทางพัฒนาการของเด็กวัยดังกล่าว ดังนั้นเชื่อว่าย่อมแยกแยะไม่ออกแน่ๆว่าสื่อใดส่งผลดีผลเสียได้มากหรือน้อย เว้นแต่พ่อแม่ต้องดูแลใกล้ชิดจริงๆ ซึ่งครอบครัวก็ยากที่จะทำได้

          "เด็กประถมต้นนั้น เป็นเด็กที่อยู่ระหว่างวัยซึ่งต้องการความอบอุ่นและครอบครัวสามารถใช้โอกาส นี้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ดีด้วยการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันซึ่ง หากปล่อยให้เด็กอยู่กับคอมพิวเตอร์โอกาสในการสร้างสัมพันธ์ของครอบครัวยุค ใหม่ที่มีน้อยแล้วก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก"รศ.นพ.ศิริไชยกล่าวย้ำ

          ที่สำคัญในวงสัมมนาไม่เชื่อว่าจะควบคุมอันตรายจากการใช้ไอทีของเด็กได้ อนึ่งจากการศึกษาปัญหาเด็กติดเกม กับการส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการในด้านต่างๆในเด็กนักเรียนกลุ่ม ตัวอย่างเกือบ 5,000 รายในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 5 แห่ง พื้นที่กทม.เมื่อปี 2550 พบว่าเด็กไทยมีอัตราการเล่นเกมเฉลี่ย2 ชม.ต่อวัน หรือราว 18 ชม.ต่อสัปดาห์โดยเด็กผู้ชายจะใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 2 เท่าส่วนเรื่องของการเล่นเกมที่นิยมสำหรับวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นประเภทการแข่ง ขันความรุนแรงด้านเพศอาการติดเกมจะรุนแรงมากและมีลักษณะคล้ายคนติดยาเสพติด และการพนันไม่สามารถควบคุมได้เมื่อเวลาไม่เล่นก็จะไม่สบายใจหงุดหงิดใน ประเทศไทยตัวเลขชี้เด็กติดเกมในชั้นประถม18.5%มัธยม 13.9%

          รศ.นพ.ศิริไชยบอกอีกว่าจากการใช้เวลากับการท่องโลกออนไลน์ที่เด็กและวัยรุ่น ใช้ไปกับการเล่นเกมนั้นค่อนข้างมากซึ่งต่างจากการใช้เพื่อการศึกษา ส่วนใหญ่นิยมใช้เวลาในการเล่นเกมตามร้านหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน้ต บุ๊กเท่านั้น หากมีคอมพิวเตอร์พกพาคงจะเพิ่มความสะดวกได้มากกว่าเดิมทั้งจากการศึกษาผล กระทบจากเรื่องดังกล่าวทั้งด้านความคิด การตัดสินใจและการแสดงออกทางพฤติกรรมด้านต่างๆ นั้นพบว่ามีหลายอย่างด้วยกันเริ่มตั้งแต่ผลกระทบทางด้านร่างกาย คือเด็กติดเกมส่วนใหญ่มักกินง่ายๆด้วยอาหารแบบเร่งด่วนและกินขนมขบเคี้ยวแทน อาหารอื่นๆเพื่อความเพลิดเพลินและความสะดวกในการเล่นเกมแบบต่อเนื่องต่อ เนื่องถึงผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์ คือเด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่มีภาวะทางอารมณ์แตกต่างจากกลุ่มอื่นเหตุเพราะ ใช้เวลาส่วนใหญ่เพียงลำพังอยู่กับคอมพิวเตอร์ บางครั้งก็เครียดไปกับเกมและมักกังวลหรือเครียดกับเรื่องง่ายๆ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหรือเกิดโรคขี้เหงาได้ง่าย รวมทั้งการมีอารมณ์รุนแรงตามลักษณะของเกมที่เล่นด้วยส่งผลต่อการเกิด พฤติกรรมที่ก้าวร้าวซึ่งทำให้สังคมภายนอกไม่ยอมรับหรือมักออกมาประณามความ ผิดพลาดของเด็กซึ่งในอนาคตอาจก่อให้เด็กมีปัญหาสุขภาพจิตได้สูง

          สำหรับมุมมองของจิตแพทย์นั้นเป็นที่ประจักษ์ว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญใน การสืบค้นข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิตอลแต่ขณะเดียวกันเด็กวัยประถมก็ยังเป็นวัย บริสุทธิ์ที่อาจตกเป็นเหยื่อของผลกระทบแห่งนโยบายประชานิยมโดยไม่รู้ตัวจึง ได้ฝากไว้ว่า หากจะแจกคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือแท็บเล็ตจริงๆคงต้องศึกษาความเหมาะสมให้ ละเอียดมากกว่านี้



ผู้จัดการรายวัน