
แนวโน้มของการขยายตัวด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5ปีที่ผ่านมาของประเทศไทยมีมากขึ้น ผู้ประกอบการภาคเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทยได้ให้ความสําคัญกับเรื่องบทบาทของ โลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร โดยเริ่มต้นการปฏิรูประบบการกระจายสินค้าใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีกระบวนการจัดการที่เป็นระบบสามารถติดตามการกระจายสินค้าได้อย่างแม่นยํา
หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ที่นำมาแนะนำกันวันนี้ จึงน่าสนใจตรงที่ เป็นการนําศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์มาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยได้ออกแบบให้มีองค์ความรู้ทางด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการจัดการระดับปฏิบัติ เน้นการบริหารจัดการวัตถุดิบ สินค้า/บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่ Suppliers จนถึง Customers รวมถึงกระบวนการทํางานต่างๆ เช่น การขนส่ง การจัดการวัสดุ การจัดการผลิตภัณฑ์การบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นต้น
จุดเด่นอีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตบุคลากรที่สามารถเข้าไปยกระดับระบบโลจิสติกส์ของ องค์กรในด้านต่างๆ ซึ่งเหมาะกับสภาพการทําธุรกิจในปัจจุบันที่มีลักษณะการแข่งขันแบบ “Supply-Chainกับ Supply-Chain” ไม่ใช่การแข่งขันระหว่าง “องค์กร กับ องค์กร” เหมือนในอดีต ความรู้ ความสามารถในการจัดการสาขานี้จึงเป็นที่ต้องการสําหรับองค์กรในยุคโลกาภิวัต น์
บัณฑิต วิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (Graduate School of Management and Innovation, GMI) แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็น สถาบันที่ตั้งขึ้นจากการที่มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ ของศาสตร์ทางด้านการจัดการ ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรในยุคเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีและความรู้เข้มข้น (Technology and Knowledge Based Economy) เพื่อให้เกิดบูรณาการระหว่างศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี งานวิศวกรรม และศาสตร์ทางด้านการบริหารจัดการอย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่มีทักษะการบริหารเฉพาะทาง ที่ดีมีความสามารถ และจะปลูกฝังแนวคิดเชิงการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Cooperation) นวัตกรรม (Innovation) ความเป็นผู้นำ (Leadership) และความเป็นนักประกอบการสมัยใหม่(Entrepreneurship)
----------------------------------------------

การจัดการโลจิสติกส์ คือการบริหารกระบวนการไหลของสินค้า/บริการหรือวัตถุดิบ จากจุดเริ่มต้น (Points of Origin) ไปยังจุดที่มีการใช้สินค้าหรือวัตถุดิบนั้นๆ The Council of Logistics Managementได้ ให้คำนิยามวิชาชีพด้านโลจิสติกส์ ไว้ว่า "กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการและควบคุมประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ในการเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บ สินค้าและบริการ ตลอดจนข้อมูลต่างๆ จากจุด เริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค"
ดร.สรวิชญ์ เยาว์ยืนยง
ประธานหลักสูตรการจัดการ โลจิสติกส์
Master of Science Program in Logistics Management (LGM)
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ถือเป็นหลักสูตรสำคัญของ GMI และได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นจำนวนมากตลอดมา โดย GMI ถือเป็นสถาบันแรกของประเทศที่เปิดหลักสูตรนี้และได้ผลิตนักโลจิสติกส์คุณภาพ ไปแล้วกว่า 10รุ่น หลักสูตรถูกออกแบบให้มีเนื้อหาครอบคลุมทุกกระบวนการโลจิสติกส์ตั้งแต่ การจัดซื้อ การบริหารคลังสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง การขนส่ง การวางแผนการดำเนินงาน จนถึงการบริหาร
ห่วงโซ่อุปทานและความเสี่ยง
1.นักศึกษาจะได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในการบริหารและจัดการจากผู้มีประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์โดยตรง
2.ได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ แก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์ ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้มีประสิทธิภาพและวัดผลได้ ด้วยขนาดของนักศึกษาต่อรุ่นไม่เกิน 40คนทำให้สามารถรักษาคุณภาพของการเรียนได้ นักศึกษายังได้รับประโยชน์จากเครือข่ายของศิษย์เก่าที่เข้มแข็งซึ่งทำ งานอยู่ในอุตสาหกรรมสำคัญต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และสามารถเลือกเรียนได้ทั้งแบบภาคปกติ (ภาคกลางวัน) หรือภาคพิเศษ (ภาคค่ำ) นักศึกษาสามารถเสริมความรู้นอกเหนือจากโลจิสติกส์ด้วยการลงเรียนในวิชาต่างๆ ของหลักสูตรอื่นๆ ใน GMI ผลสำรวจนักศึกษาที่จบการศึกษาไปแล้วระบุว่า นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการทำงานได้จริง ส่งผลให้มีความก้าวหน้าสายอาชีพเป็นอย่างมาก มีนักศึกษาหลายท่านสามารถเข้าทำงานในบริษัทชั้นนำด้านโลจิสติกส์ของโลกต่อไป ได้
กลุ่มเป้าหมาย
(1) ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ เจ้าของกิจการ ต่างๆ ที่เป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์
(2) พนักงานองค์กรธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัทไทยหรือต่างประเทศ สถาบันการเงินต่าง ๆ ในตำแหน่งผู้บริหารขั้นต้นหรือพนักงานอาวุโส ในฝ่ายคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวางแผน ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายนำเข้าและส่งออก ฝ่ายโลจิสติกส์ และฝ่ายโซ่อุปทานเป็นต้น
http://www.kmutt.ac.th/gmi/php2/th/program_lgm_rational.php
รายละเอียดเพิ่มเติม
เปิดรับสมัครปริญญาโท ตั้งแต่บัดนี้ - 23มี.ค. 2555 มีสาขาที่เปิดรับดังนี้
หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (M.Sc.) การจัดการโลจิสติกส์
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) การจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) สาขาการจัดการ
การบริหารโครงการ (Project Management)
การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation Management)
การจัดการโทรคมนาคมและบรอดคาสติ้ง (Telecommunication and Broadcasting Management)
การจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Management)
การบริหารจัดการองค์กร (Organization Management)
หลักสูตรบริหารวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (M.Sc.) สาขาการจัดการ
การบริหารโครงการ (Project Management)
การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation Management)
การจัดการโทรคมนาคมและบรอดคาสติ้ง (Telecommunication and Broadcasting Management)**
การจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Management)*
คุณสมบัติของผู้สมัคร และหลักเกณฑ์การคัดเลือก
- สําเร็จปริญญาตรีทุกสาขาที่ ก.พ. ให้การรับรอง
- ควรมีประสบการณ์การทํางานไม่ตํ่ากว่า 4ปี หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์กับบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
- พิจาณาจากใบสมัคร
ค่าใช้จ่าย
ภาคพิเศษ
ค่าบํารุงการศึกษา 28,750 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าหน่วยกิต 3,000 บาท/หน่วยกิต
ภาคปกติ
เหมาจ่าย 150,000บาท โดยแบ่งจ่าย 4ภาคการศึกษา
ระบบการศึกษา
ภาคพิเศษ มีการเรียนในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.00 – 21.00น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 – 16.00น.
ภาคปกติ มีการเรียนในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.00น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 – 16.00น.
สถานที่เรียน
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม อาคารเรียนรวม 5ชั้น 8-9มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
จํานวนรับ
ภาคพิเศษ 40 คน
ภาคปกติ 20 คน
ติดต่อ
รองคณบดีฝ่ายวิชาการผศ.ดร.ธนัญา วสุศรีthananya.was@kmutt.ac.th
ที่อยู่ อาคารเรียนรวม 5ชั้น 8เลขที่ 91ถนนประชาอุทิศ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
อีเมล์คณะ gmi@kmutt.ac.th
โทรศัพท์ (+66) 2 470-9799 , (+66) 2 470-9795 , (+66) 01 444-1109
แฟกซ์66-2 470 9795