สพฐ.ปรับหลักสูตรการเรียน เพิ่มวิชาชีพ ผุดหลักสูตรมีงานทำ

สพฐ.ปรับหลักสูตรการเรียน เพิ่มวิชาชีพ ผุดหลักสูตรมีงานทำ

          นายชินภัทร ภูมิรัตนเลขาธิการคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)เปิดเผยว่าจากนโยบายของนายวรวัจน์เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ที่ต้องการให้เน้นการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับอาชีพนั้นขณะนี้สำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ได้เตรียมดำเนินการการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนและสัดส่วนของเวลา เรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนภาคปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นโดย เฉพาะการให้นักเรียนมีเจตคติเกี่ยวกับวิชาชีพซึ่งจะเริ่มส่งเสริมตั้งแต่ ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ความเข้มข้นของการส่งเสริมในเรื่องนี้นั้นจะมีความเข้มข้นมากที่สุด ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนการส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่นักเรียนนั้น จะส่งเสริมทุกแห่งทั่วประเทศแต่จะเน้นส่งเสริมในโรงเรียนนำร่อง 3 กลุ่ม คือโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่

          เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่านอกจากนี้สพฐ.จะ เสนอให้เปิดหลักสูตรแท่งใหม่ ที่เป็นการเตรียมตัวเพื่อการมีงานทำ(Career Prep) โดยจะเป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่นและจะต้องมีการวางแผนในระดับมหภาคซึ่ง ต้องร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆใน ศธ.ด้วย เช่น สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้สำนัก งานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ต้องมีหน้าที่ในการวิจัยศักยภาพของพื้นที่ จังหวัดและลงมาช่วยการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยโดยสิ่งเหล่านี้จะ ต้องมีความยึดโยงเชื่อมต่อกันทั้งหมดอย่างไรก็ตาม หลักสูตร Career Prep ที่จะใช้นั้นนายวรวัจน์เห็นว่าควรจะต้องส่งเสริมให้เด็กได้ค้นหาตัวเองใน เรื่องอาชีพในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ดังนั้น สพฐ.จะใช้หลักสูตรนี้ ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไปซึ่งจะปรับเนื้อหา กิจกรรมเข้าไปในโครงสร้างหลักสูตรในปัจจุบันซึ่งอาจจะเป็นวิชาเสริมหรือวิชา เลือก โดยจะต้องนำร่องในโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่

          นายชินภัทรกล่าวต่อว่าสำหรับโครงการเรียน ฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพที่นายวรวัจน์ให้สพฐ.มาดำเนินการพิจารณานั้นจะมีการปรับแนว ทางการจัดสรรเงินอุดหนุนที่จะตรงกับความต้องการของผู้เรียนมากขึ้นโดยจะไม่ เป็นรายการที่จัดให้เหมือนกันหมดทุกคนแต่จะให้นักเรียนและผู้ปกครองเลือก รายการที่ต้องการภายใต้เงินอุดหนุนที่จะจัดสรรให้นักเรียนแต่ละคนในอัตรา เดียวกันซึ่งสพฐ.จะสำรวจความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองก่อนจากนั้นจะนำ ผลการสำรวจมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลในปีที่ผ่านมาว่ารายการใดที่จัดสรรให้นัก เรียนแล้วมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนก็จะดำเนินการต่อ แต่หากมีผลน้อยก็จะต้องทบทวน