หลังจากการัดตั้งองค์กรกลางเพื่อจัดการ เรื่องของการรับตรงร่วมของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หรือที่เรียกว่า เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ (Clearing House) จาก สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) รวมไปถึงรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม และระเบียบการสมัครโครงการรับตรงต่างๆของแต่ละมหาวิทยาลัย น้องๆบางคนก็อาจจะสมัครโครงการรับตรงไปแล้ว ทั้งๆที่ยังงงๆ และมีคำถามอยู่ว่า Clearing Houseจะตัดสิทธิ์โครงการรับตรงหรือ Admission อย่างไร ขณะนี้ สอท. ได้ประกาศแผนผังการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปี2555 ออกมาแล้ว หรือจะพูดให้ง่ายขึ้น คือขั้นตอนของการตัดสิทธิ์ ของ Clearing Houseนั่นเอง

จากแผนภาพ น้องๆจะเห็นได้ว่า สอท. แบ่งการการคัดเลือกการสอบเข้าของมหาวิทยาลัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์ ซึ่งมีทั้งหมด 27 สถาบัน น้องๆดูรายชื่อมหาวิทยาลัยได้จากเอกสารแนบนะค่ะ โดยในกลุ่มนี้ มหาวิทยาลัย อาจจะจัดสอบเอง หรือใช้ข้อสอบวิขาสามัญ 7 วิชา จาก สทศ. เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละคณะ ของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่จุดสำคัญ อยู่ที่ โครงการรับตรงที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ จะส่งรายชื่อ นร. ที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดเข้าสู่ เคลียร์ริ่งเฮาส์ ซึ่งจะให้น้องๆยื่นยันสิทธิ์ การเข้าศึกษา หรือเลือกคณะที่ตนเองต้องการ ในช่วงเวลาที่พร้อมกัน คือ วันที่ 11-17 มีนาคม 2555 หมายความว่า หากน้องๆมีรายชื่อผ่านการสอบข้อเขียน หรือการสอบสัมภาษณ์แล้ว ไม่ได้แปลว่ามีสิทธ์เป็นนักศึกษาทันที แต่ต้องยื่นยันสิทธิ์เลือกครั้งสุดท้าย ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
ถ้าน้องๆ อ่านระเบียบการไม่ชัดเจน หรือเข้าใจผิดคิด ไม่ยื่นยันสิทธิ์ ในช่วงเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์ในทุกๆโครงการนะค่ะ
ยกตัวอย่างโครงการรับตรงในกลุ่มนี้ เช่น
โครงการรับตรง แบบปกติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการรับตรงระบบโควตา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ฯลฯ เป็นต้น
2. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ไม่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ ซึ่ง ในกลุ่มนี้ หมายถึง โครงการรับตรงที่มหาวิทยาลัยดำเนินการเปิดรับเอง โดยการสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย และเมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือก แล้วจะต้องดำเนินการยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษา กับทางมหาวิทยาลัยก่อน จึงจะถือว่า เป็นผู้มีสิทธิ์เป็นนักศึกษาได้จริง และจะเปิดโอกาสให้น้องๆสามารถยื่นสละสิทธิ์ได้ หากเปลี่ยนใจภายหลัง แต่ต้องยื่นในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพราะเมื่อกำหนด มหาวิทยาลัยจะต้องส่งรายชื่อนร. เพื่อทำการตัดสิทธิ์ ในระบบ Admission ต่อไป ซึ่งในปีการศึกษา 2555 โครงการรับตรงส่วนใหญ่ยังคงดำเนินการในรูปแบบนี้อยู่นะค่ะ ในการยืนยันสิทธิ์ ของแต่ละโครงการอาจจะมีหลากหลายวิธีเช่น การชำระเงินค่าลงทะเบียนการศึกษาล่วงหน้า การชำระค่าธรรมเนียมการยืนยันสิทธิ์หรือลงทะเบียนยืนยันการเข้าศึกษาผ่าน ระบบของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ประเด็นสำคัญของโครงการรับตรงในกลุ่มนี้ คือ น้องๆต้องศึกษารายละเอียดระเบียบการการสมัครให้ชัดเจนว่า หลังจากการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องยื่นยันสิทธิ์กับทางมหาวิทยาลัย ภายในกำหนดการเมื่อไหร่ และสามารถยื่นสละสิทธิ์ได้หรือไม่ เพราะบางโครงการก็ตัดสิทธิ์ ระบบ Admission ทันทีที่น้องยืนยันสิทธิ์นะค่ะ ต้องระมัดระวังและใส่ใจมากๆเลยค่ะ
ยกตัวอย่างโครงการที่รับตรงในกลุ่มนี้
โครงการรับตรงทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โครงการรับตรงมหาวิทยาลัยศรีนครทรวิโรฒ
โครงการรับตรงระบบโควตา มหาวิทยาลัยนเรศวร
โครงการรับตรงระบบโควตาพื้นที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
และโครงการอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ คณะและมหาวิทยาลัยเปิดรับเอง เป็นต้น
จากที่สรุปมาข้างต้น คงพอให้น้องๆได้เห็นภาพของการตัดสิทธิ์ ในการสอบโครงการับตรง มากยิ่งขึ้นนะค่ะ ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสอบรับตรงคือ น้องๆควรจะรู้จักตนเอง ว่าชอบหรืออยากเรียนในคณะ สาขาอะไร จะได้ไม่เสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุไปกับการสอบรับตรง ในคณะที่ไม่อยากเรียนนะค่ะ