เสนอคุรุสภากำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัยให้ชัดเจน

  UploadImage

เสนอคุรุสภากำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัยให้ชัดเจน

          รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่าจากการประชาพิจารณ์เรื่อง "การศึกษามาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาปฐมวัย" ซึ่ง จัดโดยมสด.ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับปฐมวัย ทั้งภาครัฐและเอกชน ครูปฐมวัยผู้ปกครอง ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาซึ่งสามารถสรุปในเบื้องต้นได้ 3 ด้าน คือ

 1. ปัญหาด้านการปฏิบัติงานของครูการศึกษาปฐมวัย ที่ขาดคุณธรรม จริยธรรมขาดความตั้งใจในการทำงาน ไม่มีใจรักในวิชาชีพเพราะไม่ได้จบหลักสูตรด้านปฐมวัยโดยตรงรวมถึงภาระงานของ ครูที่มีมากเกินไปทำให้ไม่มีเวลาเตรียมการสอนและงบประมาณในการพัฒนาสื่อไม่ เพียงพอ ทำให้ขาดอุปกรณ์การสอนที่มีคุณภาพและขาดการอบรมพัฒนาครูให้เข้าใจในวิทยาการ ใหม่ส่งผลให้ครูขาดทักษะในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาตนเอง

2. ปัญหาการปฏิบัติตนของครูที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นแบบอย่างแก่เด็กไม่มีความรักและความอดทนในวิชาชีพทำให้บกพร่องในการ ดูแลและเอาใจใส่เด็กไม่กระตือรือร้นในการปรับปรุงตนเอง ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์, ครูไม่ให้ความสำคัญและไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็กและขาดมนุษยสัมพันธ์อันดี กับผู้ปกครองและชุมชน

และ 3.ปัญหาด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพที่ไม่ยึดมั่นจรรยาบรรณในวิชาชีพครู คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวเพราะผู้ที่เรียนครูไม่ได้เลือกเรียนโดยตั้งใจแต่ เลือกเพราะไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร

         รศ.ดร.สุขุมกล่าวอีกว่า “เท่าที่ฟังปัญหาทำให้รู้ว่าแม้แต่ในกรุงเทพฯ ก็ยังมีปัญหาเรื่องมาตรฐานการจัดการศึกษาปฐมวัยอยู่มากโดยเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน และเด็กจรจัด ที่ไม่มีครอบครัวดูแลตกเป็นภาระของโรงเรียน ส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดและกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุดดังนั้นมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัยจำ เป็นต้องปรับตามสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีข้อเสนอแนะว่าครูปฐมวัยต้องสอนให้เด็กคิดเป็น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแก้ปัญหาและนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้จริงรวมถึงต้องมีความ สามารถในการสื่อสารกับผู้ปกครองให้เข้าใจและจะนำผลประชาพิจารณ์เสนอต่อคุรุ สภาเพื่อนำไปพิจารณาและกำหนดเป็นมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัยที่ชัดเจนและนำไป สู่การนำร่องและการปฏิบัติในปีการศึกษาต่อไป”